1.คำจำกัดความ Match การแข่งขันหุ่นยนต์ 

การแข่งขันระหว่างสองทีมแต่ละทีมมีผู้เข้าแข่งขัน 1 ถึง 2 คน สมาชิกในทีม 2 คนเข้าสู่สนามแข่งขันในแต่ละรอบ. โดยมีผู้ควบคุมหลักและผู้ช่วย ผู้ควบคุมหลักเท่านั้นที่สามารถสัมผัสหรือสั่งงานหุ่นยนต์ได้ ผู้เข้าแข่งขันทำการแข่งขันกันบน Dohyo (วงแหวนซูโม่) ด้วยหุ่นยนต์ที่ผู็เข้าแข่งขันได้สร้างมาด้วยตนเอง การแข่งขันเริ่มต้นตามคำสั่งของผู้ตัดสิน และทำการแข่งขันต่อเนื่องจนกว่ามีทีมที่ได้รับคะแนน Yuhkoh (ยูโค) 2 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะใน Match นั้นๆ

2.รุ่น/ผู้เข้าแข่งขัน

2.1 ทีมหุ่นยนต์ประกอบด้วยสมากชิกไม่เกิน 2 คน (ผู้เข้าแข่งขันมีอายุ 5-99 ปี)

2.2 การแช่งขันหุ่นยนต์มี 2 รุ่นคือ รุ่นอัตโนมัติ และรุ่นรีโมทสั่งการ

2.3 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถลงแข่งขันได้ 1 ทีมต่อ 1 รุ่นการแข่งขัน

2.4 ทีมจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1  คน (หรืออาจจะไม่มีก็ได้)

3. รูปแบบสนามแข่งขัน 

3.1 สนามแข่งขันคือพื้นที่ของวงแหวนซูโม่ (Sumo Ring) ประกอบด้วยพื้นที่ภายในวงแหวนและ พื้นที่ข้างสนาม

3.2 สนามแข่งขันเป็นวงกลม ทำจากโลหะเส้นผ่านศูนย์กลาง 1500 mm. มีความสูงจากพื้นประมาณ 50 mm

3.3 มีเส้นรอบวงเป็นสีขาว กว้าง 50 mm โดยแถบสีขาวจะต้องอยู่ภายในวงกลม ภายในแถบสีขาวจะเป็นพื้นสีดำ

3.4  มีเส้นสำหรับวางหุ่นยนต์เพื่อเริ่มแข่งขัน 2 เส้น บริเวณกลางสนาม เรียกว่า เส้นชิคิริ (Shikiri) ควรเป็นสีน้ำตาลหรือสีอื่นที่สามารถแยกแยะได้ นอกจากสีขาวและดำ ทั้งสองเส้นมีความกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร อยู่ตรงข้ามกัน และห่างกันไม่เกิน 20 เซนติเมตร

3.5 พื้นที่ข้างสนามจะเป็นสีใดก็ได้ ยกเว้นสีขาว และจะมีรูปร่างอย่างไรก็ได้

4.คุณสมบัติของหุ่นยนต์

4.1 ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์มีขนาดไม่เกิน 20 x 20 เซ็นติเมตร ไม่จำกัดความสูง ต้องใส่กล่องขนาด 20 x 20 เซ็นติเมตรที่กรรมการเตรียมไว้ได้ และมีน้ำหนักรวมก่อนการแข่งขันไม่เกิน 3000 กรัม รวมแบตเตอรี่ และอุปกรณ์ทั้งหมด (ไม่นับรวมสายโหลดโปรแกรม และคอมพิวเตอร์)

4.2 หุ่นยนต์จะสร้างหรือประกอบจากชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นเอง หรือชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสนามแข่งขัน

4.3 ไม่จำกัดรุ่นหรือยี่ห้อ และจำนวนของบอร์ดควมคุมหลัก 

4.4 ไม่จำกัดชนิด รูปแบบและจำนวนของมอเตอร์ที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์

4.5 ข้อจำกัดด้านแหล่งจ่ายไฟ

  • 4.5.1 ไม่จำกัดจำนวนแบตเตอรี่ แรงดันและกระแส
  • 4.5.2 แบตเตอรี่ที่นำมาใช้ในการแข่งขันจำเป็นจะต้องมีฉลากแสดงแรงดันและกระแสอย่างชัดเจน ห้ามนำแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ ฉลากลางเลือน มีน้ำยาเคมีรั่วไหล หรือมีอาการบวมมาใช้ในการ แข่งขันโดยเด็ดขาด

4.5.3 หุ่นยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ชนิด Li-Po จำเป็นจะต้องมีการติดตั้งฟิวส์หรือวงจรป้องกันการช็อต หรือกระแสไฟเกิน โดยจะมีการตรวจสอบก่อนการแข่งขัน

4.6 หุ่นยนต์สามารถแยกหรือขยายขนาดออกในขณะแข่งขัน แต่ต้องไม่มีการยิง ขว้าง หรือส่งชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อื่นใดออกจากตัวหุ่นยนต์ในขณะทำการแข่งขัน มิเช่นนั้นจะปรับแพ้ในการแข่งขันนัดนั้นทันที

4.7 การยึดสกรูและน็อตหรืออุปกรณ์ยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทำอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมีชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะนำออก และอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้ กรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่กระทบที่เกิดขึ้นในระหว่างที่นำชิ้นส่วนที่หลุดออกนอกสนาม

4.8 หุ่นยนต์อัตโนมัติจะต้องติดตั้งโมดูลรับสัญญาณรีโมทจากกรรมการเพื่อใช้ในการสั่งเริ่มต้นการทำงานโดยจะต้องติดตั้งไว้ในจุดที่รับสัญญาณในรูปแบบแสงอินฟราเรดได้โดยง่าย และไม่มีสิ่งใดมาบดบังการรับสัญญาณ โดยทีมที่สมัครแข่งขันจะได้รับตัวรับสัญญาณจากผู้จัดในวันลงทะเบียนแข่งขัน 

ลักษณะของตัวรับสัญญาณ

4.9 ลักษณะการทำงานของหุ่นยนต์

  • 4.9.1 หุ่นยนต์ในรุ่นอัตโนมัติ หุ่นยนต์จะต้องทำงานอย่างอัตโนมัติหลังจากผู้ตัดสินส่งสัญญาณ ผ่านรีโมทของกรรมการ
  • 4.9.2 หุ่นยนต์ในรุ่นรีโมทสั่งการ หุ่นยต์จะต้องทำงานโดยการสั่งการผ่านรีโมทไรสายที่ควบคุมโดย ผู้เข้าแข่งขันเท่านั้นอนุญาตให้ติดตั้งเซ็นเซอร์หรือตัวตรวจจับได้ และผู้เข้าแข่งขันต้องเตรียมความ พร้อมในการแก้ไขปัญหาหากเกิดการชนกันของสัญญาณรีโมท

5.สิ่งที่ต้องไม่กระทำในการสร้างหุ่นยนต์

5.1 ต้องไม่ทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานของตัวตรวจจับของคู่แข่งขัน เช่น การส่งแสงอินฟราเรดเข้าไปรบกวนการทำงานของโมดูลตรวจจับแสงอินฟราเรดของคู่แข่งขัน ซึ่งทำให้ตัวตรวจจับของคู่แข่งขันทำงานผิดพลาด

5.2 ต้องไม่ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อติดตั้งแล้วสามารถสร้างความเสียหายแก่วงแหวนซูโม่ รวมถึงการใช้ล้อที่มีการชุบหรือทาด้วยน้ำมันหรือของเหลวหล่อลื่น

5.3 ต้องไม่ติดตั้งหรือใช้อุปกรณ์ที่มีการบรรจุของเหลว แป้งหรือผงฝุ่น รวมถึงอากาศ ที่สามารถส่งออกไปยังหุ่นยนต์ของคู่แข่งขันด้วยวิธีการใดๆ

5.4 ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ใดที่เมื่อทำงานตามปกติแล้วทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการลุกไหม้

5.5 ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ใดๆ ที่สามารถยิง ขว้าง หรือส่งชิ้นส่วนออกจากหุ่นยนต์ไปยังคู่แข่งขัน

5.6 ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงที่ให้พลังงานความร้อนทุกชนิด

5.7 อนุญาตให้ติดตั้งแม่เหล็กได้

6.รูปแบบการแข่งขัน

6.1 การแข่งขัน 1 นัด มี 3 ยก รวมเวลาในการแข่งขันทั้งหมดไม่เกิน 2 นาที 

6.2 ผู้ชนะการแข่งขันคือ ทีมที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดใน 3 ยก เช่น ชนะ 2 ยกจาก 3 ยก เมื่อชนะในแต่ละยก จะได้ 1 ยูโค หากไม่มีทีมใดทำคะแนนได้ 2 ยูโคก่อนหมดเวลา กรรมการจะตัดสินดังนี้

  • หากทั้งสองทีม ได้ทีมละ 1 ยูโค (ชนะทีมละยก) และมี 1 ยกที่เสมอกัน ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ
  • หากเสมอกันทั้ง 3 ยก ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ
  • หากเสมอกัน 2 ยก และมีทีมใดทีมหนึ่งชนะในยกที่เหลือ ถือว่า เป็นผู้ชนะในนัดนั้น
  • หากไม่มีทีมใดทำคะแนนได้เลย ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ ยกเว้นในรอบชิงชนะเลิศ จะต้องมีการแข่งขันในยกพิเศษ เป็นยกต่อเวลา

6.3 ระบบการแข่งขันในรอบแบ่งสายจะเป็นแบบดับเบิลอิลิมิเนชั่น (double elimination) ทีมที่แพ้สองครั้งจะตกรอบ ทีมที่ชนะได้เข้ารอบต่อไป และแข่งขันแบบแพ้คัดออกอย่างต่อเนื่องจนได้ทีมชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับ 1, รองชนะเลิศอันดับ 2 และรองชนะเลิศอันดับ 3

7.การเริ่มต้นการแข่งขัน/การเริ่มต้นใหม่/การจบการแข่งขัน

7.1 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องมาพร้อมกันที่สนาม 

7.2 กรรมการจำทำการโยนเครื่องหมายแบ่งขอบเขตสนามลงบนสนามแข่งขัน เครื่องหมายแบ่งขอบเขตสนามจะแบ่งสนามออกเป็น 4 ส่วน โดยหุ่นยนต์จะถูกวางในด้านตรงข้ามกันในเขตพื้นที่ที่กำหนด  และจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหุ่นยนต์สัมผัสกับเส้นรอบสนามสีขาว ตามตัวอย่างในภาพ

ภาพตัวอย่างการวางหุ่นยนต์

7.3 ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ฝ่ายวางหุ่นยนต์ลงบนสนามพร้อมกันเมื่อกรรมการให้สัญญาณ

7.4 การเริ่มต้นการแข่งขัน

7.4.1 หุ่นยนต์อัตโนมัติ เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผ่านระบบรีโมทหุ่นยนต์สามารถเริ่มต้นการ ทำงานได้ทันทีโดยก่อนหน้านั้นต้อง ไม่มีผู้แข่งขันอยู่ภายในพื้นที่วงแหวนและพื้นที่ข้างสนาม

7.4.2 หุ่นยต์รีโมทสั่งการ เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เข้าแข่งขันจึงเริ่มบังคับหุ่นยนต์ให้ทำงานได้ ทันทีโดยก่อนหน้านั้นต้องไม่มีผู้แข่งขันอยู่ภายในพื้นที่วงแหวนและพื้นที่ข้างสนาม

7.5 การแข่งขันจะหยุดและเริ่มต้นใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการประกาศจากกรรมการ

7.6 การแข่งขันจะจบลงอย่างเป็นทางการเมื่อหัวหน้ากรรมการประกาศ ผู้แข่งขันนำหุ่นยนต์ออกจากสนาม

8.คะแนนยูโค

8.1 คะแนน 1 ยูโค จะเกิดขึ้นเมื่อ 

8.1.1 ฝ่ายหนึ่งสามารถทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามสัมผัสกับพื้นของพื้นที่นอก วงแหวนซูโม่ ซึ่งก็คือ พื้นที่ข้างสนาม ฝ่ายที่ทำได้ก่อนจะได้คะแนน 1 ยูโค

8.1.2 เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามสัมผัสกับพื้นของพื้นที่นอกวงแหวนซูโม่ด้วย ตัวเอง ฝ่าตรง ข้ามจะได้คะแนน 1 ยูโค

8.1.3 เมื่อหุ่นยนต์ของฝ่ายใตฝ่ายหนึ่งไม่ทำงานหรือไม่มีความคืบหน้าในการเคลื่อนที่นาน 5 วินาที 

 

8.2 ถ้าหุ่นยนต์ยังอยู่บนเส้นวงแหวน ยังไม่ถือว่าได้คะแนน ให้ทำการแข่งขันต่อไป 

8.3 การแข่งขันจะหยุดเมื่อ

8.3.1 หุ่นยนต์ทั้งสองกอดกันหรือประกบติดกันและไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ 5 วินาที

8.3.2 หุ่นยนต์ทั้งสองตัวเคลื่อนที่ในลักษณะซ้ำๆ เช่น เดินหน้า-ถอยหลังไปมา หรือหมุนตัวตลอด เวลา หรือเคลื่อนที่วงกลมเป็นเวลาต่อเนื่องกัน 5 วินาที และกรณีหยุดนิ่งด้วย ถือว่า เกิดเหตุการณ์ ไม่มีความคืบหน้าในการเคลื่อนที่ 

8.3.3 ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดเหตุการณ์ในข้อก่อนหน้านี้ขึ้น อีกผ่ายหนึ่งจะได้คะแนน 1 ยูโค อย่างไรก็ตาม

8.3.4 ถ้าหากหุ่นยนต์ทั้งสองตัวไปสัมผัสกับพื้นของพื้นที่นอกวงแหวนซูโม่ โดยไม่สามารถระบุได้ อย่างชัดแจ้งว่าใครสัมผัสก่อน กรรมการจะตัดสินให้แข่งขันใหม่

8.3.5 เกิดเหตุการณ์ที่อาจก่อความไม่ปลอดภัยต่อผู้ร่วมงาน เช่น หุ่นยนต์มีควัน หรือไฟลุกไหม้ ใบมีดที่ติดหน้าหุ่นยนต์ หลุดออกหรือแตกหัก

9. การผิดกติกา

9.1 ผู้แข่งขันที่กระทำการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทำ หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้

9.2 เข้าไปในพื้นที่วงแหวนในระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นในกรณีเข้าไปเพื่อนำหุ่นยนต์ออกมาเมื่อหัวหน้ากรรมการประกาศให้คะแนนยูโคหรือในช่วงหยุดการแข่งขัน

9.3 โยนหรือนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่วงแหวน 

9.4 ผู้เข้าแข่งขันละเมิดข้อกำหนดข้อ  2, 4 และ 5

10.บทลงโทษ

10.1 ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผิดกติกาและข้อกำหนดในข้อ 9.1, 9.2, 9.3 และ 8.3.5 จะถูกปรับแพ้ทันทีและให้ 2 คะแนนยูโคแก่ฝ่ายตรงข้ามทันที ผู้กระทำผิดไม่มีสิทธิ์ประท้วง

10.2 ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผิดตามข้อ 9.2 จะเสีย 1 คะแนนยูโคให่ฝ่ายตรงข้าม

10.3 หากผู้ควบคุมทีมมีส่วนในการกระทำความผิดใดๆ ทุกทีมที่อยู่ในการดูแลจะถูตัดสิทธิ์การแข่งขัน

11. อุบัติเหตุในการแข่งขัน

11.1 การขอหยุดการแข่งขัน ผู้แข่งขันสามารถขอหยุดการแข่งขันได้ หากหุ่นยนต์ของตนเองประสบอุบัติเหตุจนแข่งขันต่อไม่ได้

11.2 การไม่สามารถแข่งขันต่อได้ ถ้าหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันต่อได้ กรรมการจะพิจารณาว่า ทีมใดเป็นต้นเหตุแห่งอุบัติเหตุนั้น ทีมนั้นต้องเป็นฝ่ายแพ้ แต่ถ้าตัดสินไม่ได้ จะถือว่า ทีมที่แข่งต่อไม่ได้เป็นฝ่ายแพ้

11.3 เวลาสำหรับการพิจารณากรณีเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ แต่จะต้องไม่เกิน 5 นาที

11.4  การให้ยูโคแก่ทีมที่ไม่สามารถแข่งขันต่อได้ จะเกิดขึ้นในกรณีเกิดเหตุการณ์ในข้อที่ 11.1 ทีมที่เป็นไม่ได้เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุ แต่ไม่สามารถแข่งขันต่อได้จะได้รับ 2 ยูโค ทำให้ชนะการแข่งขัน แต่ถ้าหากมีอยู่แล้ว 1 ยูโค จะได้รับเพิ่ม 1 ยูโค เพื่อทำให้เป็นผู้ชนะ

รางวัลและสิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, 

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น

2.รางวัลรองเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, 

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

3.รางวัลรองเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

4.รางวัลรองเลิศอันดับ 3 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ

5.รางวัลรองเลิศอันดับ 4 (4 ทีม)  

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ

รางวัลที่แจ้งข้างต้นเป็นรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเป็นอย่างน้อย และอาจมีเพิ่มเติมจาก

ผู้ให้การสนับสนุนซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง