1.รุ่น/ผู้เข้าแข่งขัน

1.1 ทีมหุ่นยนต์ประกอบด้วยสมากชิก 1 คน 

1.2 ทีมจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1  คน (หรืออาจจะไม่มีก็ได้)

1.3 การแข่งขันหุ่นยนต์มี 1 รุ่นคือ

  • 1.3.1 รุ่น Open อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

1.4 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถลงแข่งขันได้ 1 ทีมต่อ 1 รุ่นการแข่งขัน

2.กี่ยวกับสนามแข่งขัน

เป็นสนามพื้นเรียบที่มีเส้นดําบนพื้นสีขาวหรือสีอ่อนที่สามารถแยกได้อย่างชัดเจน อาจมีระดับลาดเอียงได้ รูปแบบเส้นทางเป็นเส้นต่อ-เนื่อง ขนาดเส้นอยู่ระหว่าง 1 ถึง 2.5 เซนติเมตร ไม่มีเส้นตัดและเส้นขาด

3.คุณสมบัติของหุ่นยนต์

3.1 ขนาดของหุ่นยนต์ต้องไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร สูงไม่จํากัด และต้องใส่ลงในกล่องสี่เหลี่ยมขนาดภายใน 20 x 20 เซนติเมตรที่ทางกรรมการเตรียมไว้ได้ก่อนการแข่งขัน

3.2 ไม่จำกัดรุ่นและยี่ห้อของบอร์ดควบคุม

3.3 การแข่งขัน Lintracing Vision กำหนดให้ใช้เซ็นเซอร์ประเภทกล้องได้ไม่จำกัดรูปแบบ ห้ามใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับเส้นทุกชนิด

3.4 น้ำหนักของหุ่นยนต์ไม่เกิน 2 กิโลกรัม  

3.5 ไม่จำกัดชนิดและจำนวนของมอเตอร์

3.6 หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเคลื่อนที่ด้วยล้อไปตามเส้น  

3.7 หุ่นยนต์สามารถขยายขนาดออกได้ในขณะแข่งขัน   

3.8 ไม่จํากัดที่มาและจํานวนของชิ้นส่วนทางกลและอุปกรณ์ประกอบ จะทําเอง, ขึ้นรูปจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ, ดัดแปลงจากของ เล่น ทําได้ทั้งสิ้น  

3.9 การยึดสกรูและนอตหรืออุปกรณ์ยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทําอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมี ชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะนําออก และอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้ กรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่กระทบที่ เกิดขึ้นในระหว่างที่นําชิ้นส่วนที่หลุดออกนอกสนาม 

4.สิ่งที่ต้องไม่กระทำในการสร้างหุ่นยนต์

ต้องไม่ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อติดตั้งแล้วสร้างความเสียหายแก่สนามแข่งขันในทุกกรณี  

5 การจัดแข่งขันรอบแรก

5.1 แต่ละทีมมีโอกาสแข่งขันอย่างน้อย 2 ครั้งในรอบแรก (มีโอกาสครั้งละ 2 รอบหากรอบแรกไม่สามารถวิ่งได้จบ) เพื่อเลือกเวลาที่ดีที่สุด นํามาจัดลําดับ  โดยผู้เข้าแข่งขันจะนำหุ่นยนต์มาปล่อยเมื่อใดก็ได้ภายในเวลาที่กำหนด (จะแจ้งให้ทราบในกำหนดการ)  

5.2 ระบบการแข่งขันในรอบแรกเป็นระบบจัดอันดับ โดยดูจากเวลาที่ดีที่สุด     

5.2.2 หากจํานวนเวลาเท่ากัน จะมีการแข่งขันพิเศษเพื่อเลือกหรือจัดอันดับทีมที่เข้ารอบต่อไป   

5.2.3 คัดเลือก 8 ทีมที่มีผลการแข่งขันที่ดีที่สุดเข้ารอบชิงชนะเลิศ

6 การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ  

6.1 ผู้เข้าแข่งขันเข้ามารวมกันในพื้นที่ที่กรรมการกำหนดและเขียนโปรแกรมตามภาระกิจที่กรรมการแจ้งภายในเวลาที่กำหนด

6.2 การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะแข่งขันในลักษณะเดียวกับรอบแรก โดยทุกทีมมีโอกาสแข่งขัน 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีกําหนดเวลา ไม่เกิน 3 นาที  

6.3 ทีมที่ทําเวลาดีที่สุดเป็นผู้ชนะเลิศ   

6.4 ทีมที่ทําเวลาได้ดีเป็นอันดับ 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   

6.5 ทีมที่ทําเวลาได้ดีเป็นอันดับ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  

6.6 ทีมที่ทำเวลาได้ดีเป็นอันดับ 4 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3

6.7 ทีมที่ได้อันดับ 5 ถึง 8 จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 

6.8 กรณีมีทีมที่ทําเวลาได้เท่ากัน จะมีการแข่งขันพิเศษเพื่อจัดอันดับ 

6.9 ทีมที่ไม่สามารถทำภาระกิจได้สำเร็จจะไม่ถูกจัดอันดับ

7.การเริ่มต้นแข่งขัน   

7.1 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องมาพร้อมกันที่สนาม นําหุ่นยนต์วางบนจุดเริ่มต้น จะหันหุ่นยนต์ไปในทิศทางใดก็ได้ และต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดเลยจุดเริ่มต้น   

7.2 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องเปิดสวิตช์ให้หุ่นยนต์เริ่มทํางาน เวลาจะถูกจับเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์พ้น จากจุดเริ่มต้น  

8. การหยุดและแข่งต่อ   

8.1 เมื่อหุ่นยนต์เคลื่อนที่หลุดออกจากเส้น ผู้แข่งขันอาจรอให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่กลับมาก็ได้ โดยไม่ใช้มือจับหุ่นยนต์ และการจับเวลาของการแข่งขันยังคงดําเนินต่อไป  

8.2  หากผู้แข่งขันใช้มือจับหุ่นยนต์การแข่งขันในรอบนั้นถือเป็นที่สิ้นสุดการแข่งขัน

9.การจบการแข่งขัน   

การแข่งขันจะจบลงเมื่อ  

9.1 หุ่นยนต์เคลื่อนที่มาถึงจุดสิ้นสุดหรือเส้นชัย กรรมการหยุดจับเวลา บันทึกค่าเวลาล่าสุด จะใช้เวลาที่ได้เป็นเวลาอย่างเป็นทางการของการแข่งขัน 

9.2 หากมีการจับหุ่นยนต์การแข่งขันจะสิ้นสุดลงและกรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที

9.2 ผู้แข่งขันขอยุติการแข่งขันเอง กรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที   

10.การผิดกติกา   

ถ้าผู้แข่งขันทําการละเมิดข้อกําหนดในข้อที่ 4, 10.1 และ 10.2 หรือขอหนึ่งข้อใด จะถือว่า ทําผิดกติกา   

10.1   ผู้แข่งขันที่กระทําการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทํา หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดง

อากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้   

10.2 หากผู้แข่งขันกระทําการดังต่อไปนี้ จะถือว่าผิดกติกาเช่นกัน 

10.2.1 ต้องไม่ทําการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทํางานของหุ่นยนต์ของคู่แข่งขัน เช่น การส่งแสงอินฟราเรดเข้าไปรบกวนการ ทํางานของโมดูลตรวจจับแสง อินฟราเรดของคู่แข่งขัน 

10.2.2 เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขันของทีมอื่น  

10.2.3 โยนหรือนําชิ้นส้วนหรืออุปกรณใดๆ เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการ แข่งขันของทีมอื่น  

10.2.4 กระทําการใดๆ ที่ทําให้การแข่งขันหยุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันควร 

10.2.5 กระทําการใดก็ตามที่ไมสุภาพและทําให้เกิดการเสื่อมเสียต่อการแข่งขัน 

11. บทลงโทษ   

ผู้ที่กระทําผิดกติกาในข้อที่ 10 จะถูกปรับแพ้  หากเป็นผู้ควบคุมทีมกระทําผิด ทีมที่อยู่ภายใต้การดูแลทั้งหมด จะถูกปรับแพ้ให้ออกจากการแข่งขัน  

12. ความเสียหายและอุบัติเหตุในการแข่งขัน 

12.1 การขอหยุดการแข่งขัน ผู้แข่งขันสามารถขอหยุดการแข่งขันได้ หากหุ่นยนต์ของตนเองประสบอุบัติเหตุจนแข่งขันต่อไม่ได้ กรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที    

13. การระบุหรือแสดงตัวของหุ่นยนต์ 

การระบุชื่อหรือหมายเลขของหุ่นยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องกระทําอย่างชัดเจน ง่ายต่อการเห็นและอ่านบนตัวถังของหุ่นยนต์ ตลอดระยะเวลาของการแข่งขัน 

รางวัลและสิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, 

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

2.รางวัลรองเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, 

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

3.รางวัลรองเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

4.รางวัลรองเลิศอันดับ 3 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ

สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

5.รางวัลรองเลิศอันดับ 4 (4 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ

รางวัลที่แจ้งข้างต้นเป็นรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเป็นอย่างน้อย และอาจมีเพิ่มเติมจาก

ผู้ให้การสนับสนุนซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง