วัตถุประสงค์การแข่งขัน
หุ่นยนต์ทำภาระกิจหาเส้นทางออกจากเขาวงกตได้โดยอัตโนมัติ
1. รุ่น/ผู้เข้าแข่งขัน
1.1 ทีมหุ่นยนต์ประกอบด้วยสมากชิกไม่เกิน 1 คน
1.2 ทีมจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน (หรืออาจจะไม่มีก็ได้)
1.3 การแข่งขันหุ่นยนต์มี 1 รุ่นคือ
1.2.1 รุ่น Open อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป
1.4 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถลงแข่งขันได้ 1 ทีมต่อ 1 รุ่นการแข่งขัน
2. สนามแข่งขัน
2.1 รูปแบบของสนามแข่งขันจะประกาศให้ทราบหลังส่งหุ่นยนต์แล้วในแต่ละรอบ
2.2 ข้อมูลสนามแข่งขันเบื้องต้น :
2.2.1 มีขนาดประมาณ 120 x 240 เซนติเมตร มีกําแพงกั้นรอบสนามและตามจุดต่างๆ กําแพง สูงประมาณ 20เซนติเมตร
2.2.2 สนามจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ หรือบล็อกที่มีขนาดภายในประมาณ 20 x 20 เซนติเมตร แต่ไม่มีเส้นแบ่ง
ให้เห็น
2.2.3 สนามจะมีทางเข้า 1 ทางและทางออก 1 ทาง จะแจ้งให้ทราบหลังส่งหุ่นยนต์แล้วในแต่ละรอบ
2.2.4 เป็นพื้นเรียบ แต่อาจมีรอยต่อไม่เกิน 3 มิลลิเมตรที่ทําให้สนามเกิดระดับได้
3. สภาวะของแสงและแม่เหล็ก
4.1 ทีมต้องเตรียมหุ่นยนต์ให้พร้อมทํางานกับสภาพของแสงภายในสนามแข่งขัน
4.2 สภาพแสงอาจต่างกันไปในการแข่งขัน
5. เกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใช้แข่งขัน
5.1 ขนาดไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร ในตอนเริ่มต้นแข่งขัน น้ำหนักของหุ่นยนต์ไม่จํากัด แต่ต้องไม่ทําให้สนามแข่งขันได้รับความเสียหาย ใช้หุ่นยนต์ได้เพียง 1 ตัวในการแข่งขัน
5.2 ไม่จำกัดรุ่นและชนิดของบอร์ดควบคุมที่ใช้ในการแข่งขัน
5.3 หุ่นยนต์ที่เข้าแข่งขันต้องมีการเขียนโปรแกรมให้ทํางานได้อย่างอัตโนมัติ ผู้แข่งขันต้องเตรียมการรับมือ ในกรณีอาจเกิดการรบกวนกันของคลื่นวิทยุหรือแสงอินฟราเรดในขณะทําการฝึกซ้อมและแข่งขัน
5.4 หุ่นยนต์สามารถขยายออกได้ในขณะแข่งขัน
5.5 ไม่จํากัดที่มาของชิ้นส่วนทางกลและอุปกรณ์ประกอบ จะทําเอง, ขึ้นรูปจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ หรือดัดแปลงจากของเล่น
5.6 การยึดสกรูและนอตหรืออุปกรณ์ยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทําอย่างแน่นหนา หากใน ระหว่างการแข่งขันมีชิ้นสวนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะไม่นําออก และอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้
5.7 ไม่จํากัดจํานวนมอเตอร์ที่ใช้งาน
6. การเริ่มต้นแข่งขัน
6.1 เมื่อกรรมการเรียกเก็บหุ่นยนต์ให้ทุกทีมนำหุ่นยนต์มาส่งที่จุดส่งหุ่นยนต์โดยพร้อมเพรียง หากทีมใดไม่นำหุ่นยนต์มาส่งจะถือว่าสละสิทธิ์ในการแข่งขันรอบนั้น
6.1.1 ทีมที่ติดการแข่งขันสนามอื่นอยู่ให้ขออนุญาตกรรมการในสนามที่ตนเอกำลังแข่งขันเพื่อนำ หุ่นยนต์มาส่งตามกำหนดเวลา
หรืออาจจะให้ตัวแทนนำหุ่นยนต์มาส่งแทนได้และแจ้งต่อกรรมการ
6.2 เมื่อกรรมการเรียกทีมใดให้ทีมนั้นนำหุ่นยนต์ของตนเองลงสนามแข่งขัน กรรมการจะจับเวลา 30 วินาทีเพื่อใช้ในการเตรียมตัว
6.3 การแข่งขัน 1 รอบผู้เข้าแข่งขันจะมีโอกาสในการปล่อยหุ่นยนต์จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 2 นาที
6.3.1 ครั้งที่ 1 การเก็บเส้นทาง ผู้แข่งขันเปิดสวิตช์และรอกรรมการให้สัญญาณเริ่มต้นการ. แข่งขันจากนั้นผู้เข้าแข่งขันกดปุ่มเพื่อให้หุ่นยนต์ทํางานเพียง 1 ปุ่ม หลังจากนั้นหุ่นยนต์จะต้องทํางาน แบบอัตโนมัติและเป็นอิสระปราศจากการควบคุมจากอุปกรณ์ใดๆ เมื่อวิ่งจบ 1 รอบจะถือเป็นที่สิ้นสุดการเก็บเส้นทาง หากหมดเวลา 2 นาทีก่อนให้ถือเป็นที่สิ้นสุดการเก็บเส้นทางเช่นเดียวกัน กรรมการจะบันทึกเวลาไว้เป็นสถิติ
6.3.2 ครั้งที่ 2 การทำภาระกิจ ผู้เข้าแข่งขันนำหุ่นยนต์กลับมาวางที่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง และกดปุ่มเริ่มต้นให้หุ่นยนต์ทำงานเพียง 1 ปุ่มหลังจากนั้นหุ่นยนต์จะต้องทํางาน แบบอัตโนมัติและเป็นอิสระปราศจากการควบคุมจากอุปกรณ์ใดๆ จนไปถึงทางออก หากหมดเวลา 2 นาทีแล้วหุ่นยนต์ยังไม่สามารถออกมาได้ ให้ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการแข่งขัน และกรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 2 นาทีเต็ม
6.4 ในขณะที่หุ่นยนต์ทําภารกิจนั้นอาจมีการชนกําแพงของสนามในขณะเคลื่อนที่ได้ แต่ห้ามทําเครื่องหมายใดๆ ภายในสนามหรือ
ทําลายกําแพงเด็ดขาด ทําได้เพียงชนหรือสัมผัสตามปกติ มิฉะนั้นผู้แข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์ทันที
7. ลักษณะภารกิจ
7.1 มีการแข่วขันรอบละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 นาที
7.2 หุ่นยนต์ต้องเคลื่อนที่ไปในสนามเพื่อค้นหาทางออก
7.3 เมื่อพบทางออกแล้ว ให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ออกจากสนาม
7.4 เมื่อทุกส่วนของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ออกจากสนามกรรมการจะทำการบันทึกเวลา
10. การเริ่มต้นใหม่
10.1 ผู้แข่งขันในแต่ละทีมสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ตลอดเวลาการแข่งขัน โดยยกมือและแจ้งต่อกรรมการ จากนั้นยกหุ่นยนต์กลับไปยังจุดเริ่มต้น กรรมการจะบันทึกจํานวนการขอเริ่มใหม่ไว้ และทุกครั้งในการเริ่มใหม่จะถูกบวกเวลาเพิ่ม 10 วินาที
11. การจบการแข่งขัน
11.1 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ออกจากสนามโดยทุกส่วนของหุ่นยนต์พ้นจากเขตทางออก กรรมการจะบันทึกเวลาที่ทำได้ตามจริง หากไม่มีการเริ่มต้นใหม่ แต่หากมีการเริ่มต้นใหม่กรรมการจะบวกเวลาตามจำนวนการเริ่มต้นใหม่ครั้งละ 10 วินาที
11.2 หุ่นยนต์ไม่สามารถเคลื่อนที่ออกมาได้จบครบเวลา 3 นาที กรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที
11.3 ผู้เข้าแข่งขันขอยุติการแข่งขันเอง กรรมการจะบันทึกเวลาเป็น 3 นาที
12. การแข่งขันรอบแรก
12.1 เป็นการแข่งขันเพื่อบันทึกสถิติโดยในแต่ละนัด จะมีทีมลงแข่งขัน 2 ทีม แต่ละทีมทําภารกิจเพื่อเก็บสถิติของตัวเอง โดยไม่มีการตัดสินแพ้ชนะในแต่ละนัด
12.2 ทุกทีมลงแข่งขัน 2 ครั้ง เลือกผลการแข่งขันที่ทำเวลาในข้อ 6.3.2 ที่ดีที่สุดกันเพื่อจัดอันดับ
12.3 ทีมที่ทำเวลาน้อยสุดจะได้เข้ารอบชิงชนะเลิศ
12.4 ทีมที่ได้คะแนนอันดับ 2 ถึง 5 ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ
12.5 หากมีทีมที่ทำเวลา 2 รอบที่ดีที่สุดรวมกันเท่ากันให้ นำเวลาทั้ง 2 รอบมารวมกันเพื่อใช้ในการจัดอันดับ
14. การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ
14.1 เป็นการแข่งขันในลักษณะเดียวกับรอบแรก โดยแต่ละทีมมีโอกาสแข่งขัน 1 รอบ
14.2 หุ่นยนต์ทีมใดเวลาได้น้อยที่สุดในรอบนี้ จะได้เข้าชิงชนะเลิศ
14.3 ทีมที่แพ้จะนำเวลามาเรียงลำดับและได้รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จำนวน 1 ทีม และรองชนะเลิศอันดับ 3 จำนวน 2 ทีม
15. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
15.1 เป็นการแข่งขันในลักษณะเดียวกับรอบแรก
15.2 การแข่งขันเป็นแบบชนะ 2 ใน 3 เกม ทีมที่ชนะ 2 เกมก่อน จะได้ตําแหน่งชนะเลิศ
15.3 ใช้เวลาแข่งขัน 3 นาที มีเวลาเตรียมการ 1 นาที
15.4 หากเวลาเท่ากันให้ดูจำนวนครั้งในการเริ่มต้นใหม่
15.5 หากจำนวนครั้งในการเริ่มต้นใหม่ยังเท่ากันจะถือว่า เกมนั้นเสมอกัน
15.6 การตัดสินผู้ชนะเลิศ ใช้เกณฑ์ดังนี้
15.6.1 ทีมที่ชนะ 2 เกมได้ก่อน
15.6.2 ทีมที่ชนะมากกว่าหากมีการเสมอกัน 2 เกม (มีผลแพ้ชนะ 1 เกม และเสมอกัน 2 เกม) 18.6.3 หากแข่งครบ 3 เกม แล้วมีผลการแข่งขันที่เท่ากันคือ (ก) แต่ละทีมชนะทีมละ 1 เกม และ เสมอกัน 1 เกม (ข) เสมอกันทั้ง 3 เกม จะนําเวลาของทุกเกมส์มารวมกันทีมที่มีเวลารวมน้อยกว่า จะเป็นทีมที่ชนะเลิศ
16. การทําผิดกติกา
หากผู้แข่งขันกระทําการดังต่อไปนี้ จะถือว่าผิดกติกาเช่นกัน
16.1 ผู้แข่งขันที่กระทําการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทํา หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้
16.2 กระทําการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทํางานของหุ่นยนต์ของคู่แข่งขัน
16.3 กระทําการใดๆ ที่ทําให้การแข่งขันหยุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันควร
16.4 กระทําการใดก็ตามที่ไม่สุภาพและทําให้เกิดการเสื่อมเสียต่อการแข่งขัน
17. บทลงโทษ
17.1 ผู้ที่กระทําผิดกติกาในข้อที่ 16 จะถูกให้ยุติการแข่งขันในทันที
17.2 หากทําผิดซ้ำ จะถูกให้ออกจากการแข่งขัน
17.3 หากเป็นผู้ควบคุมทีมกระทําผิด ทีมที่อยู่ใต้การดูแลจะถูกปรับให้ออกจากการแขง่ขัน
18. ข้อขัดแย้งในการตัดสิน
ระหว่างการแข่งขันให้ล้ถือว่าคําตัดสินของกรรมการเป็นที่สิ้นสุด
19. การขอหยุดการแข่งขัน
ผู้แข่งขันสามารถขอหยุดการแข่งขันได้ หากหุ่นยนตของตนเองประสบอุบัติเหตุจนแข่งขันต่อไม่ได้
20. การระบุหรือแสดงตัวของหุ่นยนต์
การระบุชื่อหรือหมายเลขของหุ่นยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องกระทําอย่างชัดเจน ง่ายต่อการเห็น ตลอดเวลาแข่งขัน
รางวัลและสิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ
1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
2.รางวัลรองเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
3.รางวัลรองเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
4.รางวัลรองเลิศอันดับ 3 (2 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
รางวัลที่แจ้งข้างต้นเป็นรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเป็นอย่างน้อย และอาจมีเพิ่มเติมจาก
ผู้ให้การสนับสนุนซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง