1.คำจำกัดความ Match การแข่งขันหุ่นยนต์ซูโม่

การแข่งขันระหว่างสองทีมแต่ละทีมมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คน ผู้เข้าแข่งขันทำการแข่งขันกันบน Dohyo (วงแหวนซูโม่) ด้วยหุ่นยนต์ที่ผู้เข้าแข่งขันได้สร้างมาก่อนการแข่งขันด้วยตนเอง การแข่งขันเริ่มต้นตามคำสั่งของผู้ตัดสิน และทำการแข่งขันต่อเนื่องจนกว่ามีทีมที่ได้รับคะแนน Yuhkoh (ยูโค) 2 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะใน Match นั้นๆ

2.รุ่น/ผู้เข้าแข่งขัน

2.1 ทีมหุ่นยนต์ประกอบด้วยสมากชิก 2 คน (ไม่นับรวมผู้ควบคุมทีม)

2.2 การแช่งขันหุ่นยนต์มี 3 รุ่นคือ

  • 2.2.1 รุ่น Junior All Spike อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 13 ปี (All Spike)
  • 2.2.2 รุ่น Junior Open อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 13 ปี (Legacy)
  • 2.2.3 รุ่น Open อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (Legacy)

2.3 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถมีชื่อเป็นผู้เข้าแข่งขันได้ 1 ทีมต่อ 1 รุ่นการแข่งขันตามข้อกำหนดอายุ

2.4 ในทีมจะมีหรือไม่ผู้ควบคุมทีมก็ได้ หากมีจะมีได้ 1 คน ผู้ควบคุมทีม 1 คนสามารถเป็นผู้ควบคุมทีมได้หลายทีม

3. รูปแบบสนามแข่งขัน 

3.1 สนามแข่งขันคือพื้นที่ของวงแหวนซูโม่ (Sumo Ring) ประกอบด้วยพื้นที่ภายในวงแหวนและ พื้นที่ข้างสนามตามรูปที่ 1

3.2 สนามแข่งขันเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 770 mm. มีความสูงจากพื้นประมาณ 18 mm

3.3 มีเส้นรอบวงเป็นสีขาว กว้าง 25 mm โดยแถบสีขาวจะต้องอยู่ภายในวงกลม ภายในแถบสีขาวจะเป็นพื้นสีดำ

3.4 พื้นที่ข้างสนามจะเป็นสีใดก็ได้ ยกเว้นสีขาว และจะมีรูปร่างอย่างไรก็ได้

4.1 ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์มีขนาดไม่เกิน 15 x 15 เซ็นติเมตร ไม่จำกัดความสูง ต้องใส่กล่องขนาด 15 x 15 เซ็นติเมตรที่กรรมการเตรียมไว้ได้ และมีน้ำหนักรวมก่อนการแข่งขันไม่เกิน 1000 กรัม รวมแบตเตอรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด (ไม่นับรวมสายโหลดโปรแกรม และคอมพิวเตอร์)

4.2 หุ่นยนต์จะต้องสร้างหรือประกอบจากขึ้นชิ้นส่วน LEGO หรือชิ้นส่วนเทียบ LEGO ได้ทั้งสิ้น ยกเว้นเครื่องมือสำหรับการงัดและถอดประกอบดังรูปที่ 2 ไม่อนุญาตให้ใช้งาน

4.3 ตัวควบคุมหลักไม่จำกัดจำนวนและไม่จำกัดที่มาในการซื้อ โดยแต่ละรุ่นเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • 4.3.1 รุ่น Junior All Spike อนุญาตให้ใช้คอนโทลเลอร์ SpikePrime และ Mindstrom Robot Inventor ดังรูปที่ 3 เท่านั้น ไม่จำกัดจำนวนโดยจะต้องโปรแกรมในช่องโปรแกรมหมายเลข 0 เท่านั้น
  • 4.3.2 รุ่น Junior Open และ Open ไม่จำกัดชนิดและจำนวนของคอนโทลเลอร์ที่นำมาใช้ในการสร้างหุ่นยนต์ โดยจะมีโปรแกรมในคอนโทลเลอร์ได้เพียง โปรแกรมเดียวเท่านั้น

4.4 ชนิดและรูปแบบของมอเตอร์

  • 4.4.1 รุ่น Junior All Spike กำหนดให้ใช้มอเตอร์ในการสร้างได้ไม่จำกัดจำนวน โดยกำหนดให้ใช้มอเตอร์รุ่นดังรูปที่ 4 เท่านั้น และห้ามทำการตัดต่อหรือดัดแปลงสายไฟ
  • 4.4.2 รุ่น Junior Open และOpen ไม่จำกัดจำนวนและชนิดของมอเตอร์ที่ใช้ในการสร้างแต่จะต้องเป็นมอเตอร์ในกลุ่มของ Lego เท่านั้น และห้ามทำการตัดต่อหรือดัดแปลงสายไฟ

4.5 ล้อและยาง

  • 4.5.1 รุ่น Junior All Spike อนุญาตให้ใช้ล้อและยางที่เป็นล้อขับเคลื่อนได้ไม่จำกัดจำนวน โดยให้ใช้ได้ตามรูปที่ 5 เท่านั้น และไม่มีการดัดแปลงไปจากการใช้งานปกติ
  • 4.5.2 รุ่น Junior Open และOpen ไม่จำกัดจำนวนล้อและยางที่เป็นล้อขับเคลื่อน และไม่จำกัดชนิดแต่จะต้องเป็นล้อของ Lego และไม่มีการดัดแปลงไปจากการใช้งานปกติ

4.6 สามารถใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าทั้งถ่านไฟฉาย และแบตเตอรี่ชาร์จได้

4.7 หุ่นยนต์สามารถขยายขนาดออกในขณะแข่งขันได้หลังจากกรรมการให้สัญญานเริ่มการแข่งขันแล้วอย่างน้อย 5 วินาที แต่ต้องไม่มีการยิง ขว้าง หรือส่งชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อื่นใดออกจากตัวหุ่นยนต์ในขณะทำการแข่งขัน มิเช่นนั้นจะปรับแพ้ในการแข่งขันนัดนั้นทันที

4.8 การยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทำอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมีชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะไม่นำออก และอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้ กรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่กระทบที่เกิดขึ้นได้

5.สิ่งที่ต้องไม่กระทำในการสร้างหุ่นยนต์

5.1 ต้องไม่ทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานของตัวตรวจจับของคู่แข่งขัน เช่น การส่งแสงอินฟราเรดเข้าไปรบกวนการทำงานของโมดูลตรวจจับแสงอินฟราเรดของคู่แข่งขัน ซึ่งทำให้ตัวตรวจจับของคู่แข่งขันทำงานผิดพลาด

5.2 ต้องไม่ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อติดตั้งแล้วสามารถสร้างความเสียหายแก่วงแหวนซูโม่ รวมถึงการใช้ล้อที่มีการชุบหรือทาด้วยน้ำมันหรือของเหลวหล่อลื่น

5.3 ต้องไม่ติดตั้งหรือใช้อุปกรณ์ที่มีการบรรจุของเหลว แป้งหรือผงฝุ่น รวมถึงอากาศ ที่สามารถส่งออกไปยังหุ่นยนต์ของคู่แข่งขันด้วยวิธีการใดๆ

5.4 ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ใดที่เมื่อทำงานตามปกติแล้วทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการลุกไหม้

5.5 ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ใดๆ ที่สามารถยิง ขว้าง หรือส่งชิ้นส่วนออกจากหุ่นยนต์ไปยังคู่แข่งขัน

5.6 ต้องไม่ติดตั้งหรือใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมืออื่นใดที่สามารถยึดหุ่นยนต์ไว้กับพื้นสนามและวงแหวนซูโม่ ไม่ว่าจะเป็นกาว ยางเหนียวยึดเกาะพื้นผิว เทปกาว สติ๊กเกอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการพยุงหรือสร้างแรงต้านกับพื้นสนาม เช่น ระบบไอพ่น

6.รูปแบบการแข่งขัน

6.1 การแข่งขัน 1 นัด มี 3 ยก ยกละ 2 นาที 

6.2 ผู้ชนะการแข่งขันคือ ทีมที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดใน 3 ยก เช่น ชนะ 2 ยกจาก 3 ยก เมื่อชนะในแต่ละยก จะได้ 1 ยูโค หากไม่มีทีมใดทำคะแนนได้ก่อนหมดเวลา จะถือว่า ยกนั้นเสมอกัน หากครบ 3 ยก แล้วไม่มีทีมใดทำคะแนนได้ 2 ยูโค กรรมการจะตัดสินดังนี้

หากทั้งสองทีม ได้ทีมละ 1 ยูโค (ชนะทีมละยก) และมี 1 ยกที่เสมอกัน ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ

หากเสมอกันทั้ง 3 ยก ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ

หากเสมอกัน 2 ยก และมีทีมใดทีมหนึ่งชนะในยกที่เหลือ ถือว่า เป็นผู้ชนะในนัดนั้น

หากแข่งขันใน 2 ยกแรก ยังไม่มีทีมใดชนะหรือทำได้ 2 ยูโค จะต้องทำการแข่งขันยกที่ 3 ตัวอย่าง ยกที่ 1 ทีม A ชนะ ยกที่ 2 เสมอกัน จะต้องมีการแข่งขันในยกที่ 3 หากยกที่ 3 ทีม B ชนะ จะตัดสินด้วยการชั่งน้ำหนัก ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ ยกเว้นในรอบชิงชนะเลิศ จะต้องมีการแข่งขันในยกพิเศษ เป็นยกต่อเวลา

6.3 ระบบการแข่งขันเป็นแบบดับเบิลอิลิมิเนชั่น (double elimination) ทีมที่แพ้สองครั้งจะตกรอบ ทีมที่ชนะได้เข้ารอบต่อไป และแข่งขันแบบแพ้คัดออกจนได้ทีมชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 

7.การเริ่มต้นการแข่งขัน/การเริ่มต้นใหม่/การจบการแข่งขัน

7.1 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องมาพร้อมกันที่สนาม 

7.2 กรรมการจำทำการโยนเครื่องหมายแบ่งขอบเขตสนามลงบนสนามแข่งขัน เครื่องหมายแบ่งขอบเขตสนามจะแบ่งสนามออกเป็น 4 ส่วน โดยหุ่นยนต์จะถูกวางในด้านตรงข้ามกันในเขตพื้นที่ที่กำหนด และจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหุ่นยนต์สัมผัสกับเส้นรอบสนามสีขาว ตามตัวอย่างในภาพ 

ภาพตัวอย่างการวางหุ่นยนต์

7.3 ในยกแรก ให้ทำการเสี่ยงทาย ทีมที่แพ้ในการเสี่ยงทาย ต้องนำหุ่นยนต์วางบนพื้นสนามตามข้อกำหนด 7.2 โดยหันด้านใดของหุ่นยนต์เข้าหาฝ่ายตรงข้ามก็ได้ จากนั้นอีกหนึ่งทีมที่ชนะการเสี่ยงทายจะวางหุ่นยนต์ลงบนพื้นสนามตามหลัง เมื่อวางหุ่นยนต์แล้วห้ามเคลื่อนย้ายตำแหน่งหุ่นยนต์

7.4 การเริ่มต้นการแข่งขัน กรรมการจะเป็นผู้ให้สัญญาณในการเริ่มการแข่งขันเมื่อกรรมการให้สัญญาณแล้ว ผู้เข้าแข่งขันกดปุ่มเริ่มต้นการทำงานเพียง 1 ครั้ง หุ่นยนต์จะต้องหยุดนิ่งเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วินาที หลังจากกรรมการให้สัญญาณ 

7.5 ในยกที่สองเป็นต้นไป ทีมที่ชนะจากการแข่งขันในยกก่อนหน้าเป็นฝ่ายวางหุ่นยนต์บนพื้นสนามหลังเส้นชิคิริก่อน โดยหันด้านใดของหุ่นยนต์เข้าหาฝ่ายตรงข้ามก็ได้ จากนั้นทีมที่แพ้จากการแข่งขันในยกก่อนหน้าจะวางหุ่นยนต์ลงบนพื้นสนามตามหลัง

7.6 การแข่งขันจะหยุดและเริ่มต้นใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการประกาศจากกรรมการ

7.7 การแข่งขันจะจบลงอย่างเป็นทางการเมื่อหัวหน้ากรรมการประกาศ ผู้แข่งขันนำหุ่นยนต์ออกจากสนาม

8.คะแนนยูโค

8.1 คะแนน 1 ยูโค จะเกิดขึ้นเมื่อ 

  • 8.1.1 ฝ่ายหนึ่งสามารถทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามสัมผัสกับพื้นของ พื้นที่นอกวงแหวนซูโม่ซึ่งก็คือ พื้นที่ข้างสนาม ฝ่ายที่ทำได้ก่อนจะได้คะแนน 1 ยูโค
  • 8.1.2 เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามสัมผัสกับพื้นของพื้นที่นอกวงแหวน ซูโม่ด้วยตัวเอง ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนน 1 ยูโค หากฝ่ายตรงข้ามไม่เคลื่อนที่หรือไม่มีการทำงานแต่กรรมการยังนับไม่ครบ 5 ก็ถือว่าฝ่ายที่ตกเสียคะแนนเช่นเดียวกัน
  • 8.1.3 เมื่อหุ่นยนต์ของฝ่ายใตฝ่ายหนึ่งไม่ทำงานหรือไม่มีความคืบหน้าในการเคลื่อนที่ นาน 5 วินาที กรรมการจะนับ 5 ให้ถือว่าฝ่ายที่ไม่ทำงานเสีย 1 ยูโค
  • 8.1.4 เมื่อหุ่นยนตฺ์เคลื่อนที่ก่อน 5 วินาทีหลังจากกรรมการให้สัญญาณ 2 ครั้งอีกฝ่ายจะได้คะแนน 1 ยูโค

8.2 ถ้าหุ่นยนต์ยังอยู่บนเส้นวงแหวน ยังไม่ถือว่าได้คะแนน ให้ทำการแข่งขันต่อไป 

8.3 การแข่งขันจะหยุดเมื่อ

  • 8.3.1 หุ่นยนต์ทั้งสองกอดกันหรือประกบติดกันและไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ 5 วินาที กรรมการจะนับ 5
  • 8.3.2 หุ่นยนต์ทั้งสองตัวเคลื่อนที่ในลักษณะซ้ำๆ เช่น เดินหน้า-ถอยหลังไปมา หรือหมุนตัว ตลอดเวลา หรือเคลื่อนที่วงกลมเป็นเวลาต่อเนื่องกัน 5 วินาที และกรณีหยุดนิ่งด้วย ถือว่า เกิดเหตุการณ์ไม่มีความคืบหน้าในการเคลื่อนที่ อย่างไรก็ตาม กรรมการสามารถขยายเวลา ในกรณีนี้เป็น 30 วินาทีได้ กรรมการจะหยุดเวลาและให้ทั้ง 2 ฝ่ายวางหุ่นยนต์ใหม่ตามลำดับเดิม และให้สัญญาณเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง หุ่นยนต์จะทำงานเหมือนตอนเริ่มต้นยก และเวลาจะเดินต่อโดยยังคงเป็นยกเดิม
  • 8.3.3 ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดเหตุการณ์ในข้อก่อนหน้านี้ขึ้น อีกผ่ายหนึ่งจะได้คะแนน 1 ยูโค อย่างไรก็ตามกรรมการสามารถขยายเวลาในกรณีนี้เป็น 30 วินาทีได้
  • 8.3.4 ถ้าหากหุ่นยนต์ทั้งสองตัวไปสัมผัสกับพื้นของพื้นที่นอกวงแหวนซูโม่ โดยไม่สามารถ ระบุได้อย่างชัดแจ้งว่าใครสัมผัสก่อน กรรมการจะตัดสินให้ยกนั้นเสมอกัน

9. การผิดกติกา

9.1 ผู้แข่งขันที่กระทำการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทำ หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้เสีย 2 ยูโค

9.2 เข้าไปในพื้นที่วงแหวนในระหว่างการแข่งขัน หรือใช้อุปกรณ์ ยกเว้นในกรณีเข้าไปเพื่อนำหุ่นยนต์ออกมาเมื่อหัวหน้ากรรมการประกาศให้คะแนนยูโคหรือในช่วงหยุดการแข่งขัน

9.3 โยนหรือนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่วงแหวน 

9.4 ผู้เข้าแข่งขันละเมิดข้อกำหนดข้อ  2, 4 และ 5

10.บทลงโทษ

10.1 ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผิดกติกาและข้อกำหนดในข้อ 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.4 จะถูกปรับแพ้ทันทีและให้ 2 คะแนนยูโคแก่ฝ่ายตรงข้ามทันที ผู้กระทำผิดไม่มีสิทธิ์ประท้วง

11. อุบัติเหตุในการแข่งขัน

11.1 การขอหยุดการแข่งขัน ผู้แข่งขันสามารถขอหยุดการแข่งขันได้ หากหุ่นยนต์ของตนเองประสบอุบัติเหตุจนแข่งขันต่อไม่ได้

11.2 การไม่สามารถแข่งขันต่อได้ ถ้าหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันต่อได้ กรรมการจะพิจารณาว่า ทีมใดเป็นต้นเหตุแห่งอุบัติเหตุนั้น ทีมนั้นต้องเป็นฝ่ายแพ้ แต่ถ้าตัดสินไม่ได้ จะถือว่าทีมที่แข่งต่อไม่ได้เป็นฝ่ายแพ้

11.3 เวลาสำหรับการพิจารณากรณีเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ แต่จะต้องไม่เกิน 5 นาที

11.4 การให้ยูโคแก่ทีมที่ไม่สามารถแข่งขันต่อได้ กรณีเกิดเหตุการณ์ในข้อที่ 11.2 แล้ว ทีมที่เป็นไม่ได้เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุ แต่ไม่สามารถแข่งขันต่อได้จะได้รับ 2 ยูโค ทำให้ชนะการแข่งขัน แต่ถ้าหากมีอยู่แล้ว 1 ยูโค จะได้รับเพิ่ม 1 ยูโค เพื่อทำให้เป็นผู้ชนะ

รางวัลของการแข่งขัน

รางวัลและสิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, สิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

2.รางวัลรองเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, สิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

3.รางวัลรองเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, สิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

4.รางวัลรองเลิศอันดับ 3 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, สิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

5.รางวัลรองเลิศอันดับ 4 (4 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, สิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

รางวัลที่แจ้งข้างต้นเป็นรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเป็นอย่างน้อย และอาจมีเพิ่มเติมจาก

ผู้ให้การสนับสนุนซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง