1.รุ่น/ผู้เข้าแข่งขัน

1.1 ทีมหุ่นยนต์ประกอบด้วยสมากชิก 2 – 3 คน ​(หุ่นยต์ไม่น้อยกว่า 2 ตัวและไม่เกิน 4 ตัว)

1.2 ทีมจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1  คน (หรืออาจจะไม่มีก็ได้)

1.3 การแข่งขันหุ่นยนต์มี 2 รุ่นคือ

  • 1.3.1 รุ่น Junior อายุตั้งแต่ 5 ปี จนถึง 13 ปี (All Spike Hardware)
  • 1.3.2 รุ่น Senior อายุตั้งแต่ 14 ปีจนถึง 19 ปี (All Lego Hardware)

1.4 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถลงแข่งขันได้ 1 ทีมต่อ 1 รุ่นการแข่งขัน

2.กี่ยวกับสนามแข่งขันและลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขัน

2.1 เป็นสนามพื้นเรียบมีความกว้าง 2.4 เมตรและ ยาว 4.8 เมตร 

2.2 มีพื้นเล่นด้านในเป็นพรมสีเขียวขนาด 2.0 x 4.2 เมตร

2.3 พื้นที่ข้างสนามจะมีขอบสูงประมาณ 10 เซ็นติเมตรเพื่อกันไม่ให้ลูกบอลออกนอกสนามแข่งขัน

2.4 มีพื้นที่ด้านข้างเป็นสีขาวหรือสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีเขียวและแยกจากสีเขียวได้อย่างชัดเจน

2.5 มีเส้นแบ่งกลางสนามเป็นสีขาวความหนาของเส้น 2.5 เซ็นติเมตีเพื่อใช้แบ่งแดน

2.6 มีพื้นที่วงกลมกลางสนามขาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซ็นติเมตรและมาความหนาของเส้น 2.5 เซ็นติเมตร ใช้เป็นโซนเริ่มต้นของลูกบอล

2.7 มีพื้นที่หน้าเขตประตูยื่นออกมาจากขอบประตูของเข้ามาในสนามฝั่งละ 50 เซ็นติเมตร กว้าง 120 เซ็นติเมตร ตรงมุมทำเป็นโค้งขนาดรัศมี 45 เซ็นติเมตร

2.8 มีจุดขนาด 4 เซ็นติเมตรห่างจากขอบประตูของแต่ละฝั่ง 100 เซ็นติเมตรสำหรับวางลูกบอลเพื่อเตะจุดโทษ

2.9 ประตูทำจากท่อ PVC ขนาด 1/2” ประกอบกันเป็นกรอบภายนอกขนาดกว้าง 80 เซ็นติเมตร สูง 40 เซ็นติเมตร และมีความลึก 40 เซ็นติเมตร

2.10 ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันจะใช้ลูกบอลเบอร์ 3 มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 14 เซ็นติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 200 กรัม

3.คุณสมบัติของหุ่นยนต์

3.1 ขนาดของหุ่นยนต์จะต้องไม่เกิน 20 x 20 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 20 เซ็นติเมตร และต้องใส่ลงในกล่องสี่เหลี่ยมขนาดภายใน 20 x 20 x 20 เซนติเมตรที่ทางกรรมการเตรียมไว้ได้ก่อนการแข่งขัน

3.2 คอนโทลเลอร์

  • 3.2.1 รุ่น Junior อนุญาตให้ใช้คอนโทลเลอร์ SpikePrime และ Mindstrom Robot Inventor ดังรูปที่ 2 เท่านั้น ไม่จำกัดจำนวน

รูปที่ 2 คอนโทลเลอร์ที่อนุญาตให้ใช้สำหรับรุ่น Junior

  • 3.2.2 รุ่น Senior ไม่จำกัดชนิดและจำนวนของคอนโทลเลอร์ที่นำมาใช้ในการสร้างหุ่นยนต์แต่จะต้องเป็นคอนโทลเลอร์ของ Lego เท่านั้น

3.3 ชนิดและรูปแบบของมอเตอร์

  • 3.3.1 รุ่น Junior กำหนดให้ใช้มอเตอร์ในการสร้างได้ไม่จำกัดจำนวน โดยกำหนดให้ใช้มอเตอร์รุ่นดังรูปที่ 3 เท่านั้น และห้ามทำการตัดต่อหรือดัดแปลงสายไฟ

รูปที่ 3 มอเตอร์สำหรับการแข่งขันรุ่น Junior

  • 3.3.2 รุ่น Senior ไม่จำกัดจำนวนและชนิดของมอเตอร์ที่ใช้ในการสร้างแต่จะต้องเป็นมอเตอร์ในกลุ่มของ Lego เท่านั้น และห้ามทำการตัดต่อหรือดัดแปลงสายไฟ

3.4 ล้อและยาง

  • 3.4.1 รุ่น Junior อนุญาตให้ใช้ล้อและยางที่เป็นล้อขับเคลื่อนได้ไม่จำกัดจำนวน โดยให้ใช้ได้ตามรูปที่ 4 เท่านั้น และไม่มีการดัดแปลงไปจากการใช้งานปกติ

รูปที่ 4 ล้อและยางที่อนุญาตให้ใช้เป็นล้อขับเคลื่อนได้ในรุ่น Junior

  • 3.4.2 รุ่น Senior ไม่จำกัดจำนวนล้อและยางที่เป็นล้อขับเคลื่อน และไม่จำกัดชนิดแต่จะต้องเป็นล้อของ Lego และไม่มีการดัดแปลงไปจากการใช้งานปกติ

3.5 น้ำหนักของหุ่นยนต์ไม่เกิน 1000 กรัม  

3.6 หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเคลื่อนที่ด้วยล้อเท่านั้น

3.7 หุ่นยนต์สามารถขยายขนาดออกได้ในขณะแข่งขันโดยเมื่อขยายแล้วมีขนาดไม่เกิน 25×25 เซ็นติเมตร สูงไม่จำกัด แต่จะไม่สามรถแยกร่างได้

3.8 การยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทําอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมี ชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะนําออก และกรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเมื่อกรรมการนำชิ้นส่วนออกให้ 

4.สิ่งที่ต้องไม่กระทำในการสร้างหุ่นยนต์

4.1ต้องไม่ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อติดตั้งแล้วสร้างความเสียหายแก่สนามแข่งขันในทุกกรณี  

4.2 ไม่อนุญาตให้ติดใบมีด ของมีคมทุกชนิดบนหุ่นยนต์

4.3 ไม่อนุญาตให้ติดแผ่นวัสดุที่ทำมุมเฉียงในลักษณะคล้ายหุ่นยต์ซูโม่บนตัวหุ่นยนต์

4.4 หุ่นยนต์จะต้องไม่ขว้าง ปา หรือยิงชิ้นส่วนหรือวัสดุอื่นๆ นอกจากการยิงลูกบอลที่อยู่ในสนามแข่งขัน

4.5 ต้องไม่มีชิ้นส่วนใดที่ออกแบบมาเพื่อหยิบ จับ หรือยึดตรึงลูกบอลไว้กับหุ่นยนต์

5 การจัดแข่งขัน  

5.1 การแข่งขันแต่ละแมทช์จะแบ่งเป็น 2 ครึ่งเวลา ช่วงละ 2 นาที โดยระหว่าครึ่งแรกและครึ่งหลังจะมีการพักครึ่งเป็นเวลา ไม่เกิน 1 นาที

5.2 การจัดการแข่งขันแบ่งออกเป็น  2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2

5.3 การแข่งขันช่วงที่ 1 จะแบ่งทีมออกเป็น 4 กลุ่ม (A,B,C,D) กลุ่มละ 4 ทีม โดยแต่ละกลุ่มจะพบกันหมดในกลุ่มของตัวเองเพื่อคัด 2 ทีมที่มีคะแนนสะสมดีที่สุดในแต่ละกลุ่มเข้าแข่งขันในช่วงที่ 2 จำนวนทีมที่เข้ารอบ

5.4 หากมีทีมคะแนนเท่ากันให้ตัดสินจากจำนวนประตูได้เสียทั้งหมด หากยังเท่ากันอีกให้จัดการแข่งขันแมทช์พิเศษเพื่อคัดเลือก

5.5 การแข่งขันในช่วงที่ 2 จัดโดยให้ทีมที่มีคะแนนเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มหนึ่งพบกับทีมที่มีคะแนนเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มอื่น จนได้ผู้ชนะ 4 ทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศ

  • 5.5.1 ผู้แพ้ในช่วงที่ 2 จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 จำนวน 4 ทีม
  • 5.2.2 หากแมทช์ใดในรอบที่ 2 ผลการแข่งขันทั้ง 2  ทีมเสมอกันเมื่อหมดเวลา ให้จัดการแข่งขันรอบ Golden Goal โดยมีระยะเวลาการแข่งขันครึ่งละ 3 นาทีไม่มีการต่อเวลา หากทีมใดทำประตูได้ก่อน จะถือว่าเป็นฝ่ายชนะ
  • 5.2.3 หากหมดเวลาการแข่งขัน Golden Goal แล้วยังไม่มีทีมใดทำคะแนนได้ ให้ใช้น้ำหนักของหุ่นยนต์ที่ได้บันทึกก่อนการแข่งขันมาตรวจสอบ ทีมใดมีน้ำหนักรวมของหุ่นยนต์เบากว่าจะเป็นฝ่าย ชนะ

6. การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ  

6.1 ผู้เข้าแข่งขัน 4 ทีมจะจับสลากเพื่อเลือกทีมที่จะต้องแข่งขันด้วยเพื่อให้ได้ผู้ชนะของ 2 คู่เข้าสู่การแข่งขันชิงอันดับที่ 1 และ 2

6.2 ผู้แพ้พบกันแข่งขันอีก 1 ครั้งเพื่อชิงตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับ 2 ผู้แพ้ในแมทช์นี้จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3

6.3 ในรอบรองชนะเลิศหากแมทช์ใดมีผลการแข่งขันเสมอกันให้ทำการแข่งขันตามรูปแบบในข้อ 5.2.2 และ 5.2.3

7.การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

7.1 ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทำการแข่งขันผู้ชนะจะได้รางวัลชนะเลิศ และผู้แพ้จะได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 

7.2 หากผลกาาแข่งขันเสมอกันให้ดำเนินการแข่งขันตามรูปแบบในข้อ 5.2.2 และ 5.2.3

8.การเริ่มต้นแข่งขัน   

8.1 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องมาพร้อมกันที่สนาม นําหุ่นยนต์มาตรวจสอบคุณสมบัติภายในเวลาไม่เกิน 3 นาทีนับจากกรรมการให้สัญญาณ หากหุ่นยนต์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดสามารถนำกลับไปแก้ไขได้และนำกลับมาตรวจสอบใหม่ภายในเวลา ยกเว้นทีมที่มีสมาชิกติดการแข่งขันรายการอื่นที่มีการแจ้งต่อกรรมการไว้ล่วงหน้าอาจข้ามการแข่งขันไปแข่งคู่อื่นก่อนได้ แต่หากแข่งขันคู่อื่นจนครบแล้วให้ทำการแข่งขันตามจำนวนผู้เข้าแข่งขัน และหุ่นยนต์ที่นำมาส่งภายในเวลา มิเช่นนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ในการแข่งขัน

8.2 เมื่อตรวจสอบหุ่นยต์เป็นที่เรียบร้อย กรรมการจะเสี่ยงทายเหรียญทีมชนะการเสี่ยงทายจะได้เลือกแดนก่อน หรือเลือกเป็นฝ่ายเริ่มเกมส์ก่อน 

8.3 ผู้เข้าแข่งขันนำหุ่นยนต์ของตนเองลงสนามหุ่นยนต์ทุกตัวจะต้องอยู่ในแดนของตนเอง และอยู่นอกวงกลมกลางสนาม มีหุ่นยนต์ 1 ตัวอยู่พื้นที่หน้าประตู  โดยในสนามจะมีหุ่นยนต์ของแต่ละทีมได้ไม่เกินทีมละ 3 ตัว หุ่นยนต์ที่เหลือจะถือว่าเป็นตัวสำรอง ทีมที่ได้สิทธิ์เป็นฝ่ายเริ่มเกมส์ก่อนสามรถนำหุ่นยนต์ 1 ตัวมาไว้ในวงกลมกลางสนามเพื่อเริ่มเกมส์ เปิดหุ่นยนต์ให้อยู่นสถานะพร้อมทำงาน

8.4 เมื่อกรรมการใหสัญญาณการแข่งขันทีมที่เป็นฝ่ายเริ่มเกมส์บังคับให้หุ่นยนต์สัมผัสลูกบอล จากนั้นหุ่นยนต์ทุกตัวในสนามจึงสามารถทำการแข่งขันจนจบการแข่งขัน

9. การทำประตู

การทำประตูเกิดจากทีมใดทีมหนึ่งสามารถทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่เข้าไปยังประตูได้ โดยลูกบอลจะต้องเข้าไปในเขตประตูทั้งลูกแล้วสัมผัสกับพื้นในประตู จะทำให้ฝ่ายเจ้าของประตูเสีย 1 แต้มให้กับฝ่ายตรงข้าม

10. การครองบอล

การครองบอลหรือการเลี้ยงบอลของหุ่นยนต์จะต้องไม่มีการยึด หยิบ จับ หรือยกบอลไว้กับตัวหุ่นยนต์

หากใช้ชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ในการประคองบอลจะต้องไม่ประคองลูกบอลเกิน 50% ของขนาดลูกบอลทั้งหมดและไม่ใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของสนามในการช่วยประคองบอลขณะเคลื่อนที่

11. การหยุดและแข่งต่อ   

11.1 เมื่อลูกบอลออกนอกพื้นที่กั้นข้างสนาม ทีมที่ไม่ได้สัมผัสบอลเป็นลำดับสุดท้ายจะได้มารอในตำแหน่งที่กรรมการจะหย่อนลูกบอลลงสนามให้ โดยกรรมการจะหยุดเวลาในระหว่างเก็บบอล และจะเริ่มเวลาต่อเมื่อกรรมการหย่อนลูกบอลลงสนามแล้วบอลสัมผัสพื้นสนาม

11.2 เมื่อลูกบอลออกนอกพื้นที่กั้นบริเวณหลังประตู  หากทีมที่ไม่ได้สัมผัสบอลเป็นลำดับสุดท้ายเป็นฝ่ายตรงข้ามจะได้เขี่ยบอลจากมุมสนามในด้านที่ลูกบอลออกไป โดยเวลาในการแข่งขันยังคงดำเนินต่อไป แต่หากเป็นฝ่ายตรงข้ามสัมผัสบอลเป็นลำดับสุดท้ายให้หุ่นยนต์ฝั่งตรงข้ามถอยไปอยู้แนวหลังจุดสำสำหรับเตะจุดโทษ และฝ่ายเจ้าของแดนทำการเขี่ยบอลจากในเส้นพื้นที่หน้าประตู

11.3 เมื่อลูกบอลเข้าประตูฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่เสียคะแนนจะได้เริ่มเขี่ยบอลจากภายในพื้นที่วงกลมกลางสนามเพื่อเริ่มเกมส์ต่อ โดให้หยุดเวลาจนกว่าบอลจะเริ่มขยับ

11.4  หากผู้แข่งขันใช้มือจับหุ่นยนต์ในระหว่างแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการให้นำหุ่นยต์ตัวนั้นออกจากการแข่งขันในแมทช์นั้นๆ

11.5 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะมีสิทธิ์ในการขอซ่อมหุ่นยนต์ได้ครึ่งเวลาละ 2 ครั้ง โดยแจ้งต่อกรรมการ เมื่อกรรมการเห็นว่าหุ่นยนต์ที่เสียหายอยู่นอกพื้นที่การเล่นที่สำคัญต่อการแข่งขัน กรรมการจะให้สัญญาณให้นำหุ่นยนต์ออกมาซ่อมแซมได้โดยการแข่งขันยังคงดำเนินต่อไปและผู้เข้าแข่งขันจำนะหุ่นยนต์กลับมาวางในบริเวณข้างประตูของทีมตนเองได้ต่อเมื่อลูกบอลอยู่นอกแดนของทีมตนเองเท่านั้น

11.6 เมื่อมีหุ่นยนต์ที่ผลิกหงายหรือตะแคง ผู้เข้าแข่งแจ้งผู้ช่วยกรรมการให้เป็นผู้จับหุ่นยนต์ให้อยู่ในลักษณะใช้งานได้ โดยผู้ช่วยกรรมการจะดูความปลอดภัยเป็นสำคัญก่อนจะดำเนินการ

11.7 การขอเปลี่ยนตัวแต่ละทีมจะสามารถขอเปลี่ยนตัวหุ่นยนต์ได้ทีมละ 2 ครั้งใน 1 แมทช์การแข่งขัน โดยยกมือและแจ้งต่อกรรมการว่าขอเปลี่ยนตัว กรรมการจะรอช่วงบอลออกนอกสนาม หรือมีการทำประตูจึงจะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวหุ่นยนต์ได้

12.การจบการแข่งขัน   

การแข่งขันจะจบลงเมื่อ  

12.1 หมดเวลาการแข่งขัน

12.2 ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอยุติการแข่งขัน

12.3 หุ่นยต์เกิดอุบัติเหตุจนอาจก่อนอัตรายต่อผู้เข้าร่วมงานหรือผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ ให้ยุติการแข่งขันและทีมที่เป็นเจ้าของหุ่นยนต์จะถูกปรับแพ้ในแมทช์นั้น

12.4 หุ่นยนต์ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเหลือเพียง 1 ตัวในสนาม

13.การผิดกติกา   

ถ้าผู้แข่งขันทําการละเมิดข้อกําหนดในข้อที่ 4, 13.1 และ 13.2 หรือข้อหนึ่งข้อใด จะถือว่า ทําผิดกติกา   

13.1   ผู้แข่งขันที่กระทําการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทํา หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม รวมไปถึงการแสดงความไม่เคารพการตัดสินของคณะกรรมการโดยการแสดงท่าทาง กริยา หรือการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพจะถูกปรับแพ้   

13.2 หากผู้แข่งขันกระทําการดังต่อไปนี้ จะถือว่าผิดกติกาเช่นกัน 

  • 13.2.1 ต้องไม่ทําการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทํางานของหุ่นยนต์ของคู่แข่งขัน เช่น จงใจส่ง สัญญาณวิทยุรบกวนการทำงานของรีโมทฝ่ายตรงข้าม
  • 13.2.2 เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขัน  
  • 13.2.3 โยนหรือนําชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่ของสนามในระหว่างการแข่งขัน  
  • 13.2.4 กระทําการใดๆ ที่ทําให้การแข่งขันหยุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันควร 
  • 13.2.5 กระทําการใดก็ตามที่ไม่สุภาพและทําให้เกิดการเสื่อมเสียต่อการแข่งขัน 
  • 13.2.6 ทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ก่อนหมดเวลาแต่ละครึ่ง

13.3 ผู้ควบคุมทีมหรือผู้ปกครองที่รบกวนการแข่งขัน แสดงกริยาอันไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นด้วยถ้อยคำ หรือท่าทาง

14. บทลงโทษ   

14.1 ผู้ที่กระทำผิดกติกาในข้อ 13.1 ทีมจะถูกปรับแพ้ในแมทช์นั้นๆ หากเป็นผู้ควบคุมทีมกระทำความผิด ทีมที่อยู้ภายใต้การดูแลทั้งหมดจะถูกปรับแพ้ให้ออกจากการแข่งขัน

14.2 ผู้ที่กระทําผิดกติกาในข้อที่ 13.2 จะเสีย 1 แต้มให้ฝ้ายตรงข้าม หากเป็นผู้ควบคุมทีมกระทําผิด ทีมที่อยู่ภายใต้การดูแลทั้งหมด จะถูกปรับแพ้ให้ออกจากการแข่งขัน

14.3 ผู้ที่กระทำผิดในข้อ 13.2.6 หุ่นยนต์ตัวที่ทำผิดจะถูกนำออกจากการแข่งขันและติดโทนแบนห้ามลงแข่งขันแมทช์ถัดไปอีก 1 แมทช์ 

14.4 ผู้ควบคุมทีมหรือผู้ปกครองที่กระทำผิดในข้อ 13.1 ,13.2 และ 13.3 จะถูกเชิญให้ออกจากบริเวณจัดงาน หากฝ่าฝืนทุกทีมในสังกัดจะถูกตัดสิทธิ์ให้ออกจากการแข่งขัน และยกเลิกรางวัลในรายการที่แข่งขันจบไปแล้ว

15. ความเสียหายและอุบัติเหตุในการแขงขัน 

15.1 การขอหยุดการแข่งขัน ผู้แข่งขันสามารถขอหยุดการแข่งขันได้ หากหุ่นยนต์ของตนเองประสบอุบัติเหตุจนแข่งขันต่อไม่ได้

16. การระบุหรือแสดงตัวของหุ่นยนต์ 

การระบุชื่อหรือหมายเลขของหุ่นยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขันต้องกระทําอย่างชัดเจน ง่ายต่อการเห็นและอ่านบนตัวถังของหุ่นยนต์ ตลอดระยะเวลาของการแข่งขัน 

**** กติกาอาจมีการแก้ไขปรับปรุงโดยจะอัพเดททางเว็บไซต์การแข่งขัน

รางวัลของการแข่งขัน

1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, 

สิทธิในการร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

2.รางวัลรองเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ, 

สิทธิในการร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

3.รางวัลรองเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล, 

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,

สิทธิในการร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

4.รางวัลรองเลิศอันดับ 3 (1 ทีม)

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ

สิทธิในการร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

5.รางวัลรองเลิศอันดับ 4 (4 ทีม)

ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ

สิทธิในการร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ

รางวัลที่แจ้งข้างต้นเป็นรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเป็นอย่างน้อย และอาจมีเพิ่มเติมจากผู้ให้การสนับสนุนซึ่งจะแจ้งให้ทราบภา