ข้อกําหนดกติกาการแข่งขันหุ่นยนต์ Bingo Battle
ผู้เข้าแข่งขัน
- ทีมหุ่นยนต์ประกอบด้วยสมากชิก 1 คน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีหุ่นยนต์ไม่เกิน 1 ตัวในการแข่งขัน
- ทีมจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน (หรืออาจจะไม่มีก็ได้)
- การแข่งขันหุ่นยนต์มี 1 รุ่นคือรุ่น Student อายุ 8-18 ปี
- ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถลงแข่งขันได้ 1 ทีมต่อ 1 รุ่นการแข่งขัน
ข้อกําหนดของหุ่นยนต์
- ขนาดของหุ่นยนต์จะต้องไม่เกิน 25 x 25 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 25 เซนติเมตร และต้องใส่ลงในกล่องสี่เหลี่ยมขนาดภายใน 25 x 25 x 25 เซนติเมตรที่ทางกรรมการเตรียมไว้ได้ก่อนการแข่งขัน
- ไม่จำกัดรุ่นหรือยี่ห้องของบอร์ดควบคุม โดยไม่จํากัดลักษณะโครงสร้าง, แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่โดยแหล่งพลังงานจะต้องอยู่บนตัวหุ่นยนต์เท่านั้น
- หุ่นยนต์สามารถหยิบ จับ นำพา แท่งพลังงานไปพร้อมกับหุ่นยนต์ได้เพียง 2 ชิ้นเท่านั้น
- สามารถต่อบอร์ดขับมอเตอร์ภายนอกได้
- น้ำหนักของหุ่นยนต์ไม่เกิน 1000 กรัม
- ไม่จำกัดจำนวนและชนิดของมอเตอร์ที่ใช้งาน
- หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเคลื่อนที่ด้วยล้อเท่านั้น
- หุ่นยนต์สามารถขยายขนาดออกได้ในขณะแข่งขันโดยเมื่อขยายแล้วมีขนาดไม่เกิน 35 × 35 เซนติเมตร สูงไม่จำกัด แต่จะไม่สามารถแยกร่างได้
- ไม่จํากัดที่มาและจํานวนของชิ้นส่วนทางกลและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ จะทําเอง, ขึ้นรูปจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ, ดัดแปลงจากของ เล่น หรือชิ้นส่วนอื่นๆ โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสนามและผู้เข้าแข่งขัน
- การยึดสกรูและนอตหรืออุปกรณ์ยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทําอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมีชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะนําออก และกรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเมื่อกรรมการนำชิ้นส่วนออกให้
- หุ่นยนต์ต้องควบคุมด้วยรีโมทแบบไร้สายเท่านั้น
- หุ่นยต์จะต้องพร้อมทำงานหากมีสภาวะรบกวนจากสิ้งแวดล้อม เช่นสนามแม่เหล็ก คลื่นวิทยุ Wifi หรือแสงสว่าง
การประกอบหุ่นยนต์
- ผู้เข้าแข่งขันสามารถประกอบหุ่นยนต์ก่อนวันแข่งขันได้
- อนุญาตให้เขียนโปรแกรมควบคุมมาก่อนวันแข่งขันได้
- สามารถปรับแก้ไข ปรับปรุงได้ตลอดเวลา
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตรวจสอบหุ่นยนต์ไม่ให้ผิดกติกาและข้อกําหนดตลอดเวลาการแข่งขัน หากมีการ ตรวจพบในภายหลัง จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
การควบคุมหุ่นยนต์
- หุ่นยนต์จะต้องควบคุมด้วยระบบไร้สายเท่านั้น
- อนุญาติให้ใช้รีโมทแบบใดก็ได้ในการบังคับหุ่นยนต์
ภารกิจในการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันบังคับหุ่นยนต์ แข่งขันกันนำแกนพลังงานผ่านเส้นทางเขาวงกตเพื่อนำไปใส่ยังเตาปฏิกรณ์ที่อยู่บริเวณกลางสนามแข่งขัน ทีมใดสามารถเรียงแกนพลังงานให้เป็นของตนเองได้ 3 แกนเรียงติดดันก่อนเป็นฝ่ายชนะ
รูปแบบสนามแข่งขัน
Fig. 1 ภาพรวมสนามแข่งขัน
- ขนาดสนามแข่งขัน
- สนามแข่งขันมีขนาด 2.40 x 4.80 เมตร โดยพื้นสนามเป็นไวนิล
- ขอบสนามทำจากไม้ มีความหนาประมาณ 15 มิลลิเมตร ทำสีขาว โดยความสูงของขอบสนามจะมีขนาด 5 เซนติเมตร
- Start Zone
- มีพื้นที่ในการเริ่มต้นหุ่นยนต์ขนาด 30×30 เซนติเมตร
- Maze Zone
- พื้นสนามที่ทำจากไวนิล
- มีขอบไม้ความหนาประมาณ 15 มิลลิเมตร ทำสีขาว โดยความสูงของไม้จะมีขนาด 5 เซนติเมตร
- มีช่องว่างให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ประมาณ 40 เซนติเมตร
- Energy Area
- พื้นที่ในการวางแท่งพลังงานตอนเริ่มต้น จะอยู่บริเวณมุมของสนามทั้ง 4 ด้าน
- Dangerous Zone
- เป็นพื้นที่อันตรายจะมีขนาด 80×100 เซนติเมตร
- Reactor Zone
- จะมีแท่นเตาปฏิกรณ์ อยู่บริเวณตรงกลาง 7 แท่นเตาปฏิกรณ์ โดยมีระยะห่างแต่ละแท่นเตาปฏิกรณ์ 30 เซนติเมตร และมีเส้นแบ่งตรงกลางระหว่างฝั่งสีแดงและฝั่งสีน้ำเงิน
- มีการยกระดับขึ้น 15 เซนติเมตร และจะมีทางลาดชัน โดยความกว้างของทางลาดชันอยู่ที่ 40 เซนติเมตร วัสดุจะทำจากไม้ทำสีขาว จะติดตั้งอยู่ตรงกลางของสนาม
อุปกรณ์ในการแข่งขัน
- แท่งพลังงาน (Power)
- มีลักษณะทรงกระบอก (Cylinder) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร มีความสูง 2 เซนติเมตร
- มีสีน้ำเงินและสีแดง สีละ 20 ชิ้น
- ทำจากพลาสติกชนิด PLA ขึ้นรูปจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
Fig. 2 ภาพตัวอย่างของแท่งพลังงาน
- แท่งพลังงานสูง (High Power)
- มีลักษณะทรงกระบอก (Cylinder) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร มีความสูง 2 เซนติเมตร
- มีสีน้ำเงินสลับสีทองและสีแดงสลับสีทอง สีละ 2 ชิ้น
- ทำจากพลาสติกชนิด PLA ขึ้นรูปจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
Fig 3. ภาพแท่งพลังงานสูง
- เตาปฏิกรณ์ (Reactor)
- มีลักษณะทรงกระบอก (Cylinder) มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 6 เซนติเมตร มีความสูง 8 เซนติเมตร ทำจากอะคริลิคท่อกลมใส
- ใส่แท่งพลังงานได้มากสุด 4 ชิ้น
- โดยเตาปฏิกรณ์ทั้งหมดมีจำนวน 7 ชิ้น
- ฐานยึดทำจากพลาสติกชนิด PLA ขึ้นรูปจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยมีจุดยึดสกรู 3 จุดเพื่อยึดกับสนาม
Fig 4. เตาปฏิกรณ์ (Reactor)
ระยะเวลาการแข่งขัน
- การแข่งขันใช้เวลา 5 นาที แข่งแบบต่อเนื่องไม่มีการหยุดเวลา
- ผู้เข้าแข่งขันต้องพร้อมที่สนามแข่งขันก่อนเวลาการแข่งขันจริงเพื่อรายงานตัว
การนับคะแนน
- การทําคะแนนจะเกิดขึ้นเมื่อแท่งพลังงานอยู่ในเตาปฏิกรณ์สมบูรณ์ 100% และแท่งพลังงานฝั่งของตนเองอยู่ด้านบนสุดเท่านั้นจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนนในแต่ละเตาปฏิกรณ์ ทีมที่ทําคะแนนได้มากที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขันในรอบนั้นๆ
- ตัวอย่าง กรณีที่ 1 แท่งพลังงานของทีมสีน้ำเงินอยู่ในเตาปฏิกรณ์เพียง 1 ชิ้น ถือว่า ทีมสีน้ำเงินได้ 5 คะแนน
- ตัวอย่าง กรณีที่ 2 แท่งพลังงานของทีมสีน้ำเงินอยู่ในเตาปฏิกรณ์จำนวน 2 ชิ้น, 3 ชิ้นหรือ 4 ชิ้น โดยจะถือว่าทีมสีน้ำเงินอยู่ด้านบนสุดจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนน (ไม่ว่าจะซ้อนกันกี่ชิ้นก็นับชิ้นบนสุดเท่านั้น)
- ตัวอย่างกรณีที่ 3 แท่งพลังงานของทีมสีน้ำเงินอยู่ในเตาปฏิกรณ์ด้านล่างสุดและแท่งพลังงานของทีมสีแดงอยู่ด้านบนสุด ในกรณีนี้ทีมสีแดงจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนน
- ตัวอย่างกรณีที่ 4 แท่งพลังงานทีมสีน้ำเงินอยู่ด้านบนสุด ในกรณีนี้ทีมสีน้ำเงินจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนน
- ตัวอย่างกรณีที่ 5 แท่งพลังงานสูง (HighPower)ทีมสีแดงอยู่ด้านบนสุด ในกรณีนี้ทีมสีแดงจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนน
- ตัวอย่างกรณีที่ 6 แท่งพลังงานสูง (HighPower) ของทีมสีแดงอยู่ด้านล่างสุด แต่มีแท่งพลังงานของทีมสีน้ำเงินทับอยู่ด้านบน ในกรณีนี้ทีมสีน้ำเงินจะเป็นฝ่ายจะถือว่าเป็นฝ่ายแพ้โดยไม่ต้องนับคะแนน (ทีมที่วางแท่งพลังงาน Standard ทับแท่งพลังงาน High Power จะถือว่าเป็นฝ่ายแพ้โดยไม่ต้องนับคะแนนการแข่งขัน)
- ตัวอย่างกรณีที่ 7 แท่งพลังงานสูง (HighPower) ทีมสีน้ำเงินอยู่ด้านบนสุด ในกรณีนี้ทีมสีน้ำเงินจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนน (แท่งพลังงานสูง (HighPower) สามารถวางทับแท่งพลังงานปกติได้)
- ตัวอย่างกรณีที่ 8 แท่งพลังงานสูง (HighPower) ทีมสีแดงอยู่ด้านบนสุด ในกรณีนี้ทีมสีแดงจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนน
- ตัวอย่างกรณีที่ 9 แท่งพลังงานสูง (HighPower) ทีมสีน้ำเงินอยู่ด้านบนสุด ในกรณีนี้ทีมสีน้ำเงินจะเป็นฝ่ายได้ 5 คะแนน
การชนะแบบ Bingo
- หากทีมใดสามารถวางแท่งพลังงานให้อยู่ด้านบนสุดของเตาปฏิกรณ์ได้เรียงติดกันจำนวน 3 เตาปฏิกรณ์จะถือว่าเป็นการทำ Bingo และการแข่งขันจะยุติลงทันที และถือว่าทีมที่ทำ Bingo ได้เป็นฝ่ายชนะ
- ตัวอย่างในภาพจะเห็นได้ว่าทีมสีแดงสามารถวางเรียงติดกันจำนวน 3 เตาปฏิกรณ์ โดยถือว่าทีมสีแดงเป็นฝ่ายชนะแบบ Bingo
การเริ่มต้นการแข่งขัน
- หุ่นยนต์จะต้องอยู่ในพื้นที่จุด Start โดยไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ยื่นออกมา
- แท่งพลังงานจะถูกวางที่ Energy Area พื้นที่ในการวางแท่งพลังงานตอนเริ่มต้น จะอยู่บริเวณมุมของสนามทั้ง 4 ด้าน
- โดยแท่งพลังงานจะถูกเรียงเป็นแนวตั้ง (Stack) จำนวน 10 ชิ้น และ แท่งพลังงานสูง (High Power) วางทับด้านบน 1 ชิ้น รวมเป็น 11 ชิ้น
- โดยจะทำการวางทั้ง 2 ด้าน ซ้ายและขวา รวมเป็นแท่งพลังงาน 20 ชิ้น แท่งพลังงานสูง (High Power) 2 ชิ้น
การทำผิดกติกาและการลงโทษ
- หากทำแท่งพลังงานหลุดออกนอกสนามจะไม่สามารถนำกลับเข้ามาได้อีก โดยกรรมการจะนำแท่งพลังงานออกจากสนามทันที
- หากทำหุ่นยนต์ตกลงไปในเขต Dangerous Zone ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเข้าไปนำหุ่นยนต์กลับมาเริ่มต้นใหม่ในจุด Start หากมีแท่งพลังงานติดมากับตัวชุดหุ่นยนต์ โดยจะถือว่าแท่งพลังงานนั้นเสียแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ต้องวางไว้ในพื้นที่ Dangerous Zone เท่านั้น
- หากทำแท่งพลังงานตกลงไปในเขต Dangerous Zone ก็จะโดยจะถือว่าแท่งพลังงานนั้นเสียแล้ว ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้
- หากทำแท่งพลังงานของตนเองล้ำเส้นเข้าไปในฝั่งตรงข้าม แบบ 100% จะถือว่าแท่งพลังงานนั้นเสียแล้ว โดยกรรมการจะนำแท่งพลังงานออกจากสนามทันที
- หากหุ่นยนต์มีการชนกัน หรือการปะทะกัน จนทำให้ แท่งพลังงานของฝ่ายตรงข้ามกระเด็นหรือหลุดออกจากมือจับ จะถูกทำโทษหักคะแนน -30 คะแนน
เกณฑ์การตัดสิน
- หากทีมใดสามารถวางแท่งพลังงานให้อยู่ด้านบนสุดของเตาปฏิกรณ์ได้เรียงติดกันจำนวน 3 เตาปฏิกรณ์ จะถือว่าเป็นการทำ Bingo และการแข่งขันจะยุติลงทันที และถือว่าทีมที่ทำ Bingo ได้เป็นฝ่ายชนะ
- หากเวลาในการแข่งขันสิ้นสุดลงโดยไม่มีทีมใดสามารถทำ Bingo ได้ ให้กรรมการทำการนับคะแนนจากแท่งพลังงานที่อยู่ด้านบนสุดของเตาปฏิกรณ์ แต่ละเตาปฏิกรณ์ โดยมีคะแนนเตาปฏิกรณ์ละ 5 คะแนน ทีมที่มีคะแนนมากที่สุดจะเป็นฝ่ายชนะ
- ทีมที่วางแท่งพลังงาน Standard ทับแท่งพลังงาน High Power จะถือว่าเป็นฝ่ายแพ้โดยไม่ต้องนับคะแนน
- ทีมที่ขอยุติการแข่งขันจะถือว่าเป็นฝ่ายแพ้โดยไม่ต้องนับคะแนนการแข่งขัน
การสิ้นสุดการแข่งขัน
- เมื่อมีฝั่งหนึ่งฝั่งใดสามารถทำ Bingo ได้
- เมื่อเวลาในการแข่งขันสิ้นสุดลง
- เมื่อมีฝั่งหนึ่งฝั่งใดวางแท่งพลังงาน Standard ทับแท่งพลังงาน High Power
- ผู้เข้าแข่งขันขอยุติการแข่งขันด้วยตนเอง
การตัดสินหากเสมอกันในเวลา
- จะเรียงลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้
- ทีมใดมี High Power อยู่บนสุดมากกว่ากันจะเป็นผู้ชนะ
- หากเสมอกันทีมใดมีแท่งพลังงาน + High Power ที่อยู่ในเตาปฏิกรณ์ทั้งหมดมากกว่ากันจะเป็นผู้ชนะ
- หากเสมอกันให้ทำการ Rematch
การปฏิบัติตนในระหว่างการแข่งขัน
- การแข่งขันเริ่มต้นขึ้นเมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มต้นการแข่งขันเท่านั้น จึงจะสามารถบังคับหุ่นยนต์ได้
- หากมีกรณีที่มีชิ้นส่วนหลุดออกจากหุ่นยนต์หรือหุ่นยนต์มีปัญหาระหว่างการแข่งขัน กรรมการจะนําชิ้นส่วนออกจากสนาม โดยที่เกมการแข่งขันยังดําเนินต่อไป และกรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
- หากหุ่นยนต์ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือไม่สามารถบังคับได้ ให้ผู้เข้าแข่งขันยกมือขอ รีไทร์ (Retire) เมื่อกรรมการอนุญาตแล้วผู้เข้าแข่งขันจึงสามารถนําหุ่นยนต์ที่มีปัญหาออกจากสนามแข่งขันด้วยตัวเองเท่านั้น เพื่อทำการซ่อมแซม โดยที่เวลาและเกมส์การแข่งขันยังดําเนินต่อไป
- การซ่อมแซมหุ่นยนต์หมายถึงการแก้ไขดัดแปลง ชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นการแข่งขันในรอบนั้นๆ ไม่สามารถเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่ได้ เช่นเดียวกับแบตเตอรี่จะไม่สามารถทำการเปลี่ยนได้จนกว่าจะจบการแข่งขันรอบนั้นๆ
- หากทีมทําการซ่อมหุ่นยนต์เรียบร้อย และยังอยู่ในเวลาการแข่งขัน ทีมสามารถนําหุ่นยนต์กลับมาลงสนามได้ โดยจะต้องวางหุ่นยนต์ในจุด Start Area ฝั่งตนเองเท่านั้น
- ไม่อนุญาติให้สัมผัสกับตัวหุ่นยนต์หรือนําหุ่นยนต์ออกจากการแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการ
- ทีมผู้เข้าแข่งขันและโค้ชต้องยอมรับในกติกาและข้อกําหนดของการแข่งขัน
- การกระทําใดๆ ที่เป็นการรบกวนสนามการแข่งขัน หรือหุ่นยนต์ของทีมอื่นๆ อาจจะทําให้กรรมการตัดสิทธิ์ทีมนั้นออกจากการแข่งขัน
- ทีมผู้เข้าแข่งขันต้องไม่ใช้อุปกรณ์ที่เป็นอันตรายหรือการกระทําใดๆ ที่อาจจะส่งผลให้เกิดการรบกวนการแข่งขัน
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีน้ําใจนักกีฬา การให้เกียรติกรรมการ และผู้ร่วมการแข่งขัน
- คำตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
การแข่งขันในรอบแรก
- การแข่งขันในรอบแรกจะเป็นการแข่งขันแบบเก็บคะแนนเพื่อคัดเลือก 32 เข้าสู่รอบ ฺBattle (จำนวนทีมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
การแข่งขันในรอบ Battle
- การแข่งขันในรอบ Battle จะเป็นการแข่งขันแบบ 2 ทีมพบกับจับสลากสายการแข่งขันแบบ Knok-out จนได้ผู้ชนะเลิศ
การคัดเลือกทีมสำหรับรางวัล Free Package เข้าร่วมการแข่งขัน World RobotChallenge 2025 สนับสนุนรางวัลโดย บริษัท อีซี่คิดส์ โรโบติกส์ จำัด
ผู้เข้าแข่งขันที่มีสิทธิ์ได้รับรางวัล Package เข้าร่วมการแข่งขัน World RobotChallenge 2025 รวมบัตรโดยสารเครื่องบิน ค่าอาหาร ที่พัก และค่าลงทะเบียนแข่งขัน 1 ประเภทการแข่งขัน (สามารถลงสมัครเองเพิ่มเติมได้) จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย และกำลังศึกษาอยู่โรงเรียน สถานศึกษาในประเทศไทยเท่านั้น
- ใช้หุ่นยต์ 3 IN 1 EASYKIDS ROBOT KIT ในการแข่งขัน
- ทีมที่มีอันดับในการแข่งขันดีที่สุดในรอบ 4 ทีมสุดท้าย มีคุณสมบัติตามข้อ 1 และ 2 จะได้รับสิทธิ์ทันที
- หากผู้เข้าแข่งขันในรอบ 4 ทีมสุดท้ายมีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อ 1 และ 2 ให้จัดการแข่งขันรอบพิเศษสำหรับทีมที่มีคุณสมบัติครบทั้งหมดที่เข้ารอบ Battle นั้นมาจับสลากจัดสายการแข่งขันแบบ Knok-out จนได้ผู้ชนะ
- รางวัลมอบให้กับผู้เข้าแข่งขัน 1 คน ตามข้อกำหนดข้อที่ 1,2,3 และ 4 โดยจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสด และไม่สามารถถ่ายโอนให้ผู้อื่นได้
รางวัลและสิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ
1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
2.รางวัลรองเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
3.รางวัลรองเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
4.รางวัลรองเลิศอันดับ 3 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
5.รางวัลรองเลิศอันดับ 4 (4 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
รางวัลที่แจ้งข้างต้นเป็นรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเป็นอย่างน้อย และอาจมีเพิ่มเติมจากผู้ให้การสนับสนุนซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง