Change Log
12/01/2024
- Use Start mulde same Internationl competition
19/09/2023
- Change start operate to Pressed Switch and wait 5 Sec.
1.คำจำกัดความ Match การแข่งขันหุ่นยนต์ซูโม่
การแข่งขันระหว่างสองทีมแต่ละทีมมีผู้เข้าแข่งขัน 1 คน สมาชิกในทีมคนเดียวเท่านั้นที่สามารถเข้าสู่สนามแข่งขันในแต่ละรอบ สมาชิกในทีมคนอื่น ๆ จะต้องอยู่นอกพื้นที่การแข่งขัน. ผู้เข้าแข่งขันทำการแข่งขันกันบน Dohyo (วงแหวนซูโม่) ด้วยหุ่นยนต์ที่ผู็เข้าแข่งขันได้สร้างมาด้วยตนเอง การแข่งขันเริ่มต้นตามคำสั่งของผู้ตัดสิน และทำการแข่งขันต่อเนื่องจนกว่ามีทีมที่ได้รับคะแนน Yuhkoh (ยูโค) 2 คะแนนก่อนจะเป็นฝ่ายชนะใน Match นั้นๆ
2.รุ่น/ผู้เข้าแข่งขัน
2.1 ทีมหุ่นยนต์ประกอบด้วยสมากชิก 1 คน
2.2 ทีมจะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน (หรืออาจจะไม่มีก็ได้)
2.2 การแช่งขันหุ่นยนต์มี 1 รุ่นคือ
- 2.2.1 รุ่น Open อายุตั้งแต่ 5 ปี จนถึง 99 ปี
2.3 ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนสามารถลงแข่งขันได้ 1 ทีมต่อ 1 รุ่นการแข่งขัน
3. รูปแบบสนามแข่งขัน
3.1 สนามแข่งขันคือพื้นที่ของวงแหวนซูโม่ (Sumo Ring) ประกอบด้วยพื้นที่ภายในวงแหวนและ พื้นที่ข้างสนาม
3.2 สนามแข่งขันเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 385 mm. มีความสูงจากพื้นประมาณ 18 mm
3.3 มีเส้นรอบวงเป็นสีขาว กว้าง 12.5 mm โดยแถบสีขาวจะต้องอยู่ภายในวงกลม ภายในแถบสีขาวจะเป็นพื้นสีดำ
3.4 พื้นที่ข้างสนามจะเป็นสีใดก็ได้ ยกเว้นสีขาว และจะมีรูปร่างอย่างไรก็ได้
4.คุณสมบัติของหุ่นยนต์
4.1 ขนาดและน้ำหนักของหุ่นยนต์ หุ่นยนต์มีขนาดไม่เกิน 5 x 5เซ็นติเมตร ไม่จำกัดความสูง ต้องใส่กล่องขนาด 5 x 5 เซ็นติเมตรที่กรรมการเตรียมไว้ได้ และมีน้ำหนักรวมก่อนการแข่งขันไม่เกิน 100 กรัม รวมแบตเตอรี่และ
อุปกรณ์ทั้งหมด (ไม่นับรวมสายโหลดโปรแกรม คอมพิวเตอร์)
4.2 หุ่นยนต์ต้องทำงานหลังจากได้รับสัญญาณจากรีโมทของกรรมการจึงจะเริ่มการทำงานโดยัตโนมัติห้ามมีการควบคุมใดๆ จากมนุษย์โดยเด็ดขาด
4.3 หุ่นยนต์จะสร้างหรือประกอบจากชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นเอง หรือชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายก็ได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสนามแข่งขัน
4.4 ไม่จำกัดรุ่นหรือยี่ห้อ และจำนวนของบอร์ดควมคุมหลัก
4.5 อนุญาตให้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงได้ไม่จำกัดชนิดและรูปแบบ โดยหุ่นยนต์ 1 ตัวสามารถติดตั้งมอเตอร์รวมทั้งหมดได้ ไม่เกิน 4 ตัว
4.6 ข้อจำกัดด้านแหล่งจ่ายไฟ
- 4.6.1 ไม่จำกัดจำนวนแบตเตอรี่ แรงดันและกระแส
- 4.6.2 แบตเตอรี่ที่นำมาใช้ในการแข่งขันจำเป็นจะต้องมีฉลากแสดงแรงดันและกระแส อย่างชัดเจน ห้ามนำ แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ ฉลากลางเลือน มีน้ำยาเคมีรั่วไหล หรือมี อาการบวมมาใช้ในการแข่งขันโดยเด็ดขาด
4.7 หุ่นยนต์สามารถขยายขนาดออกในขณะแข่งขัน แต่ต้องไม่แยกร่าง ไม่มีการยิง ขว้าง หรือส่งชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อื่นใดออกจากตัวหุ่นยนต์ในขณะทำการแข่งขัน มิเช่นนั้นจะปรับแพ้ในการแข่งขันนัดนั้นทันที
4.8 การยึดตรึงใดๆ ในตัวหุ่นยนต์จะต้องกระทำอย่างแน่นหนา หากในระหว่างการแข่งขันมีชิ้นส่วนหลุด แตก หัก ลงในสนาม กรรมการจะนำออก และอนุญาตให้แข่งขันต่อไปได้ กรรมการไม่อาจรับผิดชอบต่อผลที่กระทบที่เกิดขึ้นในระหว่างที่นำชิ้นส่วนที่หลุดออกนอกสนาม
4.9หุ่นยนต์อัตโนมัติจะต้องติดตั้งโมดูลรับสัญญาณรีโมทจากกรรมการเพื่อใช้ในการสั่งเริ่มต้นการทำงานโดยจะต้องติดตั้งไว้ในจุดที่รับสัญญาณในรูปแบบแสงอินฟราเรดได้โดยง่าย และไม่มีสิ่งใดมาบดบังการรับสัญญาณ
ลักษณะของตัวรับสัญญาณ
5.สิ่งที่ต้องไม่กระทำในการสร้างหุ่นยนต์
5.1 ต้องไม่ทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานของตัวตรวจจับของคู่แข่งขัน เช่น การส่งแสงอินฟราเรดเข้าไปรบกวนการทำงานของโมดูลตรวจจับแสงอินฟราเรดของคู่แข่งขัน หรือติดตั้งชิ้นส่วนที่มีสีขาวหรือสีอ่อน หรือสีสะท้อนแสงซึ่งทำให้ตัวตรวจจับของคู่แข่งขันทำงานผิดพลาด
5.2 ต้องไม่ใช้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เมื่อติดตั้งแล้วสามารถสร้างความเสียหายแก่วงแหวนซูโม่ รวมถึงการใช้ล้อที่มีการชุบหรือทาด้วยน้ำมันหรือของเหลวหล่อลื่น
5.3 ต้องไม่ติดตั้งหรือใช้อุปกรณ์ที่มีการบรรจุของเหลว แป้งหรือผงฝุ่น รวมถึงอากาศ ที่สามารถส่งออกไปยังหุ่นยนต์ของคู่แข่งขันด้วยวิธีการใดๆ
5.4 ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ใดที่เมื่อทำงานตามปกติแล้วทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการลุกไหม้
5.5 ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ใดๆ ที่สามารถยิง ขว้าง หรือส่งชิ้นส่วนออกจากหุ่นยนต์ไปยังคู่แข่งขัน
5.6 ต้องไม่ติดตั้งหรือใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมืออื่นใดที่สามารถยึดหุ่นยนต์ไว้กับพื้นสนามและวงแหวนซูโม่ ไม่ว่าจะเป็นกาว ยางเหนียวยึดเกาะพื้นผิว เทปกาว สติ๊กเกอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการพยุงหรือสร้างแรงต้านกับพื้นสนาม เช่น ระบบไอพ่น
6.รูปแบบการแข่งขัน
6.1 การแข่งขัน 1 นัด มี 3 ยก ยกละไม่เกิน 2 นาที
6.2 ผู้ชนะการแข่งขันคือ ทีมที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดใน 3 ยก เช่น ชนะ 2 ยกจาก 3 ยก เมื่อชนะในแต่ละยก จะได้ 1 ยูโค หากไม่มีทีมใดทำคะแนนได้ก่อนหมดเวลา จะถือว่า ยกนั้นเสมอกัน หากครบ 3 ยก แล้วไม่มีทีมใดทำคะแนนได้ 2 ยูโค กรรมการจะตัดสินดังนี้
- หากทั้งสองทีม ได้ทีมละ 1 ยูโค (ชนะทีมละยก) และมี 1 ยกที่เสมอกัน ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ
- หากเสมอกันทั้ง 3 ยก ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ
- หากเสมอกัน 2 ยก และมีทีมใดทีมหนึ่งชนะในยกที่เหลือ ถือว่า เป็นผู้ชนะในนัดนั้น
- หากแข่งขันใน 2 ยกแรก ยังไม่มีทีมใดชนะหรือทำได้ 2 ยูโค จะต้องทำการแข่งขันยกที่ 3 ตัวอย่าง ยกที่ 1 ทีม A ชนะ ยกที่ 2 เสมอกัน จะต้องมีการแข่งขันในยกที่ 3 หากยกที่ 3 ทีม B ชนะ จะตัดสินด้วยการชั่งน้ำหนัก ทีมที่มีน้ำหนักเบากว่าจะเป็นผู้ชนะ ยกเว้นในรอบชิงชนะเลิศ จะต้องมีการแข่งขันในยกพิเศษ เป็นยกต่อเวลา
6.3 ระบบการแข่งขันเป็นแบบดับเบิลอิลิมิเนชั่น (double elimination) ทีมที่แพ้สองครั้งจะตกรอบ ทีมที่ชนะในแต่ละลายการแข่งขันได้เข้ารอบต่อไป และแข่งขันแบบแพ้คัดออกจนได้ทีมชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2
7.การเริ่มต้นการแข่งขัน/การเริ่มต้นใหม่/การจบการแข่งขัน
7.1 เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้แข่งขันต้องมาพร้อมกันที่สนาม
7.2 กรรมการจำทำการโยนเครื่องหมายแบ่งขอบเขตสนามลงบนสนามแข่งขัน เครื่องหมายแบ่งขอบเขตสนามจะแบ่งสนามออกเป็น 4 ส่วน โดยหุ่นยนต์จะถูกวางในด้านตรงข้ามกันในเขตพื้นที่ที่กำหนด และจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหุ่นยนต์สัมผัสกับเส้นรอบสนามสีขาว ตามตัวอย่างในภาพ
ภาพตัวอย่างการวางหุ่นยนต์
7.3 ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ฝ่ายวางหุ่นยนต์ลงบนสนามพร้อมกันเมื่อกรรมการให้สัญญาณตามข้อกำหนดที่ 7.2
7.4 การเริ่มต้นการแข่งขัน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผ่านระบบรีโมทหุ่นยนต์สามารถเริ่มต้นการทำงานได้ทันทีโดยก่อนหน้านั้นต้อง ไม่มีผู้แข่งขันอยู่ภายในพื้นที่วงแหวนและพื้นที่ข้างสนาม
7.5 ในยกที่สองเป็นต้นไป ทีมที่ชนะจากการแข่งขันในยกก่อนหน้าเป็นฝ่ายวางหุ่นยนต์บนพื้นสนามหลังเส้นชิคิริก่อน โดยหันด้านใดของหุ่นยนต์เข้าหาฝ่ายตรงข้ามก็ได้ จากนั้นทีมที่แพ้จากการแข่งขันในยกก่อนหน้าจะวางหุ่นยนต์ลงบนพื้นสนามตามหลัง
7.6 การแข่งขันจะหยุดและเริ่มต้นใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับการประกาศจากกรรมการ
7.7 การแข่งขันจะจบลงอย่างเป็นทางการเมื่อหัวหน้ากรรมการประกาศ ผู้แข่งขันนำหุ่นยนต์ออกจากสนาม
8.คะแนนยูโค
8.1 คะแนน 1 ยูโค จะเกิดขึ้นเมื่อ
8.1.1 ฝ่ายหนึ่งสามารถทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามสัมผัสกับพื้น ของพื้นที่นอกวงแหวนซูโม่ ซึ่งก็คือ พื้นที่ข้างสนาม ฝ่ายที่ทำได้ก่อนจะได้คะแนน 1 ยูโค
8.1.2 เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ฝ่ายตรงข้ามสัมผัสกับพื้นของพื้นที่นอก วงแหวนซูโม่ด้วยตัวเอง ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนน 1 ยูโค
8.1.3 เมื่อหุ่นยนต์ของฝ่ายใตฝ่ายหนึ่งไม่ทำงานหรือไม่มีความคืบหน้าในการ เคลื่อนที่ นาน 5 วินาที
8.2 ถ้าหุ่นยนต์ยังอยู่บนเส้นวงแหวน ยังไม่ถือว่าได้คะแนน ให้ทำการแข่งขันต่อไป
8.3 การแข่งขันจะหยุดเมื่อ
8.3.1 หุ่นยนต์ทั้งสองกอดกันหรือประกบติดกันและไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ 5 วินาที
8.3.2 หุ่นยนต์ทั้งสองตัวเคลื่อนที่ในลักษณะซ้ำๆ เช่น เดินหน้า-ถอยหลังไปมา หรือ หมุนตัวตลอดเวลา หรือเคลื่อนที่วงกลมเป็นเวลาต่อเนื่องกัน 5 วินาที และกรณีหยุด นิ่งด้วย ถือว่า เกิดเหตุการณ์ไม่มีความคืบหน้า ในการเคลื่อนที่ อย่างไรก็ตาม กรรมการสามารถขยายเวลาในกรณีนี้เป็น 30 วินาทีได้
8.3.3 ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดเหตุการณ์ในข้อก่อนหน้านี้ขึ้น อีกผ่ายหนึ่งจะได้ คะแนน 1 ยูโค อย่างไรก็ตามกรรมการสามารถขยายเวลาในกรณีนี้เป็น 30 วินาทีได้
8.3.4 ถ้าหากหุ่นยนต์ทั้งสองตัวไปสัมผัสกับพื้นของพื้นที่นอกวงแหวนซูโม่ โดยไม่ สามารถระบุได้อย่างชัดแจ้งว่าใครสัมผัสก่อน กรรมการจะตัดสินให้แข่งขันใหม่
9. การผิดกติกา
9.1 ผู้แข่งขันที่กระทำการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการกระทำ หรือให้หุ่นยนต์ส่งเสียง, แสดงข้อความ หรือแสดงอากัปกริยาอันเป็นการดูถูก เหยียดหยามฝ่ายตรงข้าม จะถูกปรับแพ้
9.2 เข้าไปในพื้นที่วงแหวนในระหว่างการแข่งขัน หรือใช้อุปกรณ์ ยกเว้นในกรณีเข้าไปเพื่อนำหุ่นยนต์ออกมาเมื่อหัวหน้ากรรมการประกาศให้คะแนนยูโคหรือในช่วงหยุดการแข่งขัน
9.3 โยนหรือนำชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่วงแหวน
9.4 ผู้เข้าแข่งขันละเมิดข้อกำหนดข้อ 2, 4 และ 5
10.บทลงโทษ
10.1 ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผิดกติกาและข้อกำหนดในข้อ 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.4 จะถูกปรับแพ้ทันทีและให้ 2 คะแนนยูโคแก่ฝ่ายตรงข้ามทันที ผู้กระทำผิดไม่มีสิทธิ์ประท้วง
10.2 หากผู้ควบคุมทีมมีส่วนในการกระทำความผิดใดๆ ทุกทีมที่อยู่ในการดูแลจะถูตัดสิทธิ์การแข่งขัน
11. อุบัติเหตุในการแข่งขัน
11.1 การขอหยุดการแข่งขัน ผู้แข่งขันสามารถขอหยุดการแข่งขันได้ หากหุ่นยนต์ของตนเองประสบอุบัติเหตุจนแข่งขันต่อไม่ได้
11.2 การไม่สามารถแข่งขันต่อได้ ถ้าหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันต่อได้ กรรมการจะพิจารณาว่า ทีมใดเป็นต้นเหตุแห่งอุบัติเหตุนั้น ทีมนั้นต้องเป็นฝ่ายแพ้ แต่ถ้าตัดสินไม่ได้ จะถือว่า ทีมที่แข่งต่อไม่ได้เป็นฝ่ายแพ้
11.3 เวลาสำหรับการพิจารณากรณีเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ แต่จะต้องไม่เกิน 5 นาที
11.4 การให้ยูโคแก่ทีมที่ไม่สามารถแข่งขันต่อได้ กรณีเกิดเหตุการณ์ในข้อที่ 11.2 แล้ว ทีมที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุ แต่ไม่สามารถแข่งขันต่อได้จะได้รับ 2 ยูโค ทำให้ชนะการแข่งขัน แต่ถ้าหากมีอยู่แล้ว 1 ยูโค จะได้รับเพิ่ม 1 ยูโค เพื่อทำให้เป็นผู้ชนะ
รางวัลและสิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ
1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
2.รางวัลรองเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
3.รางวัลรองเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
4.รางวัลรองเลิศอันดับ 3 (1 ทีม)
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,ได้รับโล่รางวัล,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
5.รางวัลรองเลิศอันดับ 4 (4 ทีม)
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,ได้รับโล่รางวัล,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
รางวัลที่แจ้งข้างต้นเป็นรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเป็นอย่างน้อย และอาจมีเพิ่มเติมจากผู้ให้การสนับสนุนซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง