1 รุ่น/ผู้แข่งขัน
1.1 ทีมหุ่นยนต์มีสมาชิก 1 ถึง 2 คน จะมาจากสถาบันเดียวกันหรือไม่ก็ได้
1.2 การแข่งขันมี 2 รุ่นคือ
- 1.2.1 รุ่น Junior สําหรับผู้เข้าแข่งขันอายุ 5 ปีถึง 13 ปี
- 1.2.2 รุ่น Senior สำหรับผู้เข้าแข่งขันอายุ 14 ปีถึง 19 ปี
1.3 ทีมอาจมีครู/อาจารย์ที่ปรึกษาได้ ไม่เกิน 1 คน (สามารถเป็นที่ปรึกษาพร้อมกันหลายทีมได้)
1.4 ผู้แข่งขันส่งหุ่นยนต์เข้าประกวดได้ทีมละกี่ตัวก็ได้ แต่จะรวมกันเป็นหนึ่งผลงาน
2 รูปแบบของหุ่นยนต์
2.1 ขนาดและจํานวนของหุ่นยนต์
2.1.1 ไม่จํากัดจํานวนของหุ่นยนต์ที่เข้าประกวด แต่กรรมการจะพิจารณารวมเป็น 1 ผลงานต่อทีม
2.1.2 หุ่นยนต์แต่ละตัวมีขนาดเท่าใดก็ได้ โดยมีขนาดรวมกันทั้งผลงาน ไม่เกิน 60x60x60 เซ็นติเมตร
2.1.3 ไม่จำกัดน้ำหนักของผลงาน
3. วัสดุอุปกรณ์
3.1 ไม่จำกัดรุ่นหรือยี่ห้อของบอร์ดควบคุม
3.2 ไม่จํากัดจํานวนแผงวงจรควบคุมจากข้อ 3.1
3.3 ใช้มอเตอร์ไฟตรงแบบใดก็ได้ ไม่จํากัดจํานวน
3.4 ไม่จํากัดจํานวนหรือชนิดของตัวตรวจจับ
3.5 ไม่จํากัดแหล่งจ่ายพลังงาน แต่ผู้สร้างต้องคํานึงถึงข้อจํากัดในการทนกําลังไฟฟ้าได้ของแผงวงจรควบคุมและตัวตรวจจับ
3.6 ไม่จํากัดชนิดของอุปกรณ์ต่อพ่วง แต่ต้องไม่ทํางานเป็นตัวควบคุมหลัก
3.7 ไม่จํากัดชนิดและจํานวนของวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช้ไฟฟ้า เพื่อใช้ในการตกแต่งหุ่นยนต์
3.8 ผู่แข่งขันสามารถใช้ชิ้นส่วนจากโมเดลพลาสติก ของเล่น ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้ามาประกอบในการตกแต่งหรือสร้าง
โครงสร้างของหุ่นยนต์ได้อย่างไม่จํากัด
3.9 ผู้แข่งขันต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการสร้าง ตกแต่ง แก้ไข ดัดแปลงหุ่นยนต์สําหรับการประกวดมาเอง (อนุญาต เฉพาะเครื่องมือเบาเท่านั้น เช่นหัวแร้ง คีม ไขควง สว่านมือขนาดเล็กที่ใช้แบตเตอรี่ คัตเตอร์ กรรไกร)
4 การสร้างหุ่นยนต์
4.1 ผู้แข่งขันสามารถสร้างหุ่นยนต์มาล่วงหน้าได้
4.2 หุ่นยนต์ที่แข่งขันสามารถทํางานได้ทั้งแบบอัตโนมัติ หรือแบบบังคับมือ หรือผสมกันก็ได้
4.3 ผู้แข่งขันสามารถมาสร้างหุ่นยนต์ในพื้นที่ที่ฝ่ายจัดการแข่งขันเตรียมไว้ให้ได้ แต่มีพื้นที่อย่างจํากัด ใครมาก่อนได้ก่อน และไม่อาจ รับรองเรื่องความสะดวกสบายในการทํางาน
4.4 อนุญาตให้ติดเครื่องหมายของผู้สนับสนุนได้ แต่ต้องไม่ใช้สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์, การเมือง และ ศาสนา
4.5 หุ่นยนต์ต้องแสดงการทํางานที่สอดคล้องกับหัวข้อของการแข่งขัน
4.6 ควรสร้างหุ่นยนต์ด้วยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการในเชิงบวก
5 ความสามารถขั้นต้นของหุ่นยนต์
5.1 หุ่นยนต์ที่เข้าประกวดต้องสามารถทํางาน เคลื่อนที่ได้อย่างไม่ติดขัด โดยไม่จํากัดรูปแบบในการเคลื่อนที่
5.2 หุ่นยนต์ที่เข้าประกวดควรทํางานได้ตลอดระยะเวลาที่นําเสนอต่อคณะกรรมการ (ประมาณ 5 นาที)
6 กําหนดการ
วันที่ 25 พ.ค. 2567 เวลา 9.00 น. รุ่น Junior รายงานตัว แล้วทําการทดสอบ ตกแต่งหุ่นยนต์ นําหุ่นยนต์มายังพื้นที่ประกวด กรรมการจะสังเกตการณ์และให้คะแนน เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เริ่มการนําเสนอและแสดงการทํางานต่อกรรมการเป็นรายทีม.
วันที่ 26 พ.ค. เวลา 9.00 น. รุ่น Senior รายงานตัว แล้วทําการทดสอบ ตกแต่งหุ่นยนต์ นําหุ่นยนต์มายังพื้นที่ประกวด กรรมการจะสังเกตการณ์และให้คะแนน เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป เริ่มการนําเสนอและแสดงการทํางานต่อกรรมการเป็นรายทีม.
7 หัวข้อของการประกวด
ไม่จำกัดหัวข้อของโครงงาน
8 รูปแบบการนําเสนอ
8.1 ต้องแสดงให้เห็นการทํางานของหุ่นยนต์อย่างชัดเจน
8.2 กรรมการอาจสอบถามถึงขั้นตอนการสร้าง แนวคิดได้
8.3 การนําเสนอต้องกระชับ และไม่จําเป็นต้องกล่าวถึงผู้สนับสนุนใดๆ
9 การตัดสิน
9.1 คณะกรรมการจะพิจารณาจากผลงาน ความคิดสร้างสรรค โดยไม่คํานึงถึงชนิด ยี่ห้อ และ ราคาของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
9.2 การทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทํางานได้ตลอดระยะเวลาที่นําเสนอต่อคณะกรรมการมีผลต่อการตัดสิน
9.3 กรรมการจะพิจารณาองค์ประกอบด้านประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติในเชิงบวก เป็นปัจจัยสําคัญ
9.4 ขนาดและจํานวนของหุ่นยนต์มีผลต่อการพิจารณาหากเป็นไปอย่างไม่สมเหตุ สมผล และฟุ่มเฟือย
9.5 ลําดับของการนําเสนอผลงานไม่มีผลต่อการพิจารณา
9.6 การตัดสินของกรรมการถือเป็นสิ้นสุด
9.7 การให้คะแนนของกรรมการจะมีคะแนนอยู่ตั้งแต่ 1-5 คะแนนในหัวข้อต่อไปนี้
- A. Idea, creativity
- B. Development effort
- C. Technology, Innovation
- D. Intelligence
- E. Presentation
รางวัลและสิทธ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ
1.รางวัลระดับเหรียญทอง (8 ทีม อาจมีเพิ่มเติมหากคะแนนอยู่ในเกณฑ์)
1.1.รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) ได้รับโล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
1.2.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (1 ทีม) โล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
1.3.รางวัลกรองชนะเลิศอันดับ 2 (1 ทีม) โล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ,
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
1.4.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 (4 ทีม) โล่รางวัล,
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ
สิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
2.รางวัลระดับเหรียญเงิน (ทีมที่ผ่านตามเกณฑ์คะแนน)
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ
3.รางวัลระดับเหรียญทองแดง (ทีมที่ผ่านตามเกณฑ์คะแนน)
ประกาศณียบัตรรับรองความสามารถ